ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ Active Learning ด้วยกระบวนการ SNW+5Model เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนสนมวิทยาคาร
ผู้วิจัย นายธัญญ์วริทธิ์ คำผง
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 11 กุมภาพันธ์ 2568
บทคัดย่อ
คุณภาพการศึกษาเป็นประเด็นที่ประเทศต่างๆ
ทั่วโลกให้ความสนใจกันอย่างกว้างขวาง
เพราะถือว่าเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
แต่มุมมองในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อความสามารถตอบสนองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ซึ่งมีทั้งผู้รับบริการการศึกษาซึ่งได้แก่ นักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนนั้นอาจแตกต่างกันไปตามบริบท
ความเชื่อ หรือกระบวนทัศน์ในการพัฒนาในแต่ละยุคสมัย
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษา
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้และจะต้องสร้างความพึงพอใจของผู้ปกครอง ชุมชน
และสังคมโดยทั่วไป ทั้งนี้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องอาศัยความรับผิดชอบทั้งในระดับประเทศและระดับสถานศึกษา โดยคำนึงถึงองค์ประกอบ
5 ประการ ได้แก่ หลักสูตร สื่อการสอนและเทคโนโลยี
การประเมินผู้เรียน การพัฒนาครู การประเมินคุณภาพสถานศึกษา และการสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาที่เชื่อมโยงกับทักษะ 3 ทักษะ
เป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (รัตนา ดวงแก้ว 2559: 13)
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O – NET) มีความสำคัญในระดับชาติ
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะแสดงมาตรฐานการศึกษาของไทยให้มีความชัดเจนเพื่อที่จะได้กำหนดแนวทางแก้ไขและพัฒนาการศึกษากันได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
และในระดับสถานศึกษานั้น ความสำคัญของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O – NET) ในบริบทการปฏิบัติงานจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยแต่ยังคงความหมายเดิม
ประโยชน์ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องคือ 1) เป็นการปรับการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกัน
คะแนนเฉลี่ยการสอบในแต่ละปีจะบ่งบอกได้ว่า
โรงเรียนแต่ละแห่งพัฒนาด้านคุณภาพการศึกษาไปในแนวทางใด
นักเรียนมีคุณภาพการศึกษาอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการปรับการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกัน
2) การจัดกลุ่มโรงเรียน คะแนนเฉลี่ยการสอบนั้น
ใช้จัดกลุ่มโรงเรียนแต่ละแห่ง ซึ่งอาจแบ่งจากปัจจัยของโรงเรียน
โดยเปรียบเทียบว่าคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนอยู่ในระดับใด
จะมีการพิจารณาตัวแปรหรือปัจจัยในการแบ่งกลุ่มว่าจะมีการกำหนดอย่างไรให้เกิดความยุติธรรมกับโรงเรียน
การจัดอันดับจะจัดกุ่มโรงเรียนที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน
เพื่อให้แต่ละโรงเรียนได้ทราบถึงระดับคุณภาพของโรงเรียนและจะได้มีการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของตนเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
3) โรงเรียนและครูผู้สอน สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสอบไปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนต่อไป
รวมทั้งนำผลการประเมินของนักเรียนแต่ละคนไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดการเรียนและกิจกรรมต่างๆ
ให้สอดคล้องต่อความสนใจ ความต้องการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้
ความสามารถของนักเรียน 4) ผู้ปกครองสามารถใช้คะแนนสอบของนักเรียนเป็นแนวทางแก้ไขและสนับสนุนบุตรหลานให้กระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้น
เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในแนวทางที่ดี และ 5) นักเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากผลคะแนนที่นักเรียนได้รับเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความภาคภูมิใจในความพยายามเป็นการสร้างเสริมแรงผลักดันให้ตนเองต่อไปได้ในอนาคต
(ปนัดดา หัสปราบ 2557: 51)
ตามนโยบายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ซึ่งโรงเรียนสนมวิทยาคาร ได้บรรจุและดำเนินการโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ในทุกๆ ปี ในแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น และยกระดับผลของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ของโรงเรียนให้สูงขึ้น (งานแผนงาน โรงเรียนสนมวิทยาคาร 2567: 126)ตามนโยบายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ซึ่งโรงเรียนสนมวิทยาคาร ได้บรรจุและดำเนินการโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ในทุกๆ ปี ในแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น และยกระดับผลของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ของโรงเรียนให้สูงขึ้น (งานแผนงาน โรงเรียนสนมวิทยาคาร 2567: 126)
จากการวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O – NET) ของผู้เรียนโรงเรียนสนมวิทยาคาร
โรงเรียนสนมวิทยาคารจึงตระหนักและได้นำผลการวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O – NET) ในปีการศึกษา ๒๕๖๖
มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้ได้ตรงตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ที่ต้องการมากที่สุด
เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้เรียนที่มีคุณภาพตรงตามที่หลักสูตรกำหนด
ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืนของผู้เรียนอันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ซึ่งสอดคล้องกับพระบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 หมวด 4 ในแนวทางการจัดการศึกษามาตรา 22 ที่กล่าวว่า
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคน
มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษา
ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
และในปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนเป็นสิ่งที่ผู้สอนควรมีการออกแบบและวางแผนอย่างรอบคอบ
เพราะผู้เรียนอยู่ในยุค Generation
Z มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก ฉลาดรอบรู้ เพราะเติบโตมาพร้อมกับความรู้รอบด้าน
สามารถค้นหาข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างอิสระ
แต่มีโลกส่วนตัวสูงจนถูกเรียกอีกอย่างว่าเป็นเด็ก Gen Me (สำนักกองทุนส่งเสริมสุขภาพ
2557: online) จึงเป็นความท้าทายที่ผู้สอนจะต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
วิจารณ์ พานิช (2555: 64) กล่าวว่า ผู้สอนในศตวรรษที่ 21
ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นครูเป็นศูนย์กลางบรรยายเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้มากที่สุด
เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ สนุกกับการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ต่อไปตลอดชีวิต
พัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงให้ผู้เรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
มีการสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะการทำงานเป็นทีม มีการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาระหว่างศาสตร์ต่างๆ
เรียนรู้จากการกระทำ มีการสะท้อนความคิดของตนเองกับคนอื่นๆ
ซึ่งวิธีการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active
Learning ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้โดยมีผู้สอนเป็นผู้อำนวยคามสะดวก
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ (นนทลี พรธาดาวิทย์ 2559: 17)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ทั้งกิจกรรม วิธีการ หรือรูปแบบการสอน ทำให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน และทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้รูปแบบการสอนที่สำเร็จรูปที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปในปัจจุบันอาจไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ เพราะบริบทในห้องเรียนแต่ละห้องมีความแตกต่างกัน ผู้สอนควรใช้หลักการของ Active Learning ในการพัฒนากิจกรรมสำหรับผู้เรียน ทั้งวิธีการสอน อุปกรณ์การสอน การออกแบบรูปแบบการสอนต่างๆ ให้เหมาะกับเนื้อหาผู้เรียนและชั้นเรียน จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่น และเป็นนักคิดที่ไม่หยุดนิ่ง ทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อหาได้นาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในบริบทต่างๆ ในบรรยากาศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (นนทลี พรธาดาวิทย์ 2559: 18)
ดังนั้น
ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสนมวิทยาคารจึงได้ศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ
Active
Learning ด้วยกระบวนการ SNW + 5 Model เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ที่ประกอบด้วย “S” (Success
& Quality Of Learner) การมุ่งสู่ความสำเร็จและคุณภาพของผู้เรียน
“N” (Networking in Academic) การสร้างเครือข่ายทางวิชาการ
และ “W” (Well-rounded Education) การจัดการศึกษารอบด้าน
และอีก 5 โมเดลย่อย คือ 1) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษด้วยกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ
PABCA Model 2) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการ 6D Model 3) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 5E Model 4) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการ
DEK – D Model และ 5)
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Sci
– TD Model
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ
Active
Learning ด้วยกระบวนการ SNW + 5 Model เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
สามารถพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนของครูให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน
มีการจัดทำแผนการสอนที่ผ่านกระบวนการ PLC ภายในกลุ่มสาระอยู่หลายครั้งจนได้แผนการสอนที่มีประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้จัดกิจกรรมกับผู้เรียน
จึงส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อผู้เรียน
คือ 1)
นักเรียนให้ความสนใจในกิจกรรมการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นและนักเรียนมีความดูแลเอาใจใส่การเรียน
2) ร้อยละของผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O – NET) ปีการศึกษา
2566 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในระดับโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในระดับโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ 3) ร้อยละของผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O – NET) ปีการศึกษา 2566 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์
มีระดับคะแนนเฉลี่ยที่สูงกว่าระดับคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ส่วนวิชาภาษาอังกฤษ
มีระดับคะแนนเฉลี่ยที่ต่ำกว่าระดับคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ 4) ร้อยละของผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ปีการศึกษา 2566 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกรายวิชามีระดับคะแนนเฉลี่ยที่สูงกว่าระดับคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ
5) นักเรียนมีความสุข
สนุกกับการเรียนและมีทัศนคติที่ดีที่ดีต่อการเรียน 6) นักเรียนได้รับการส่งเสริมความสามารถเฉพาะด้านตามความสามารถของผู้เรียน
ส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานสูงขึ้น 7) นักเรียนได้กล้าคิด กล้าแสดงออก พัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับความสนใจของตนเอง และ 8) นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดการคิดเป็น วางแผนเป็น กล้าตัดสินใจ มีความรอบคอบ
มีการทำงานเป็นหมู่คณะ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560)