Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การสร้างทักษะการเรียนรู้ตามแนวคิด STEALM Education เพื่อสร้างความตระหนักด้าน สิ่งแวดล้อม มีความคิดสร้างรรค์และเป็นยอดนักประดิษฐ์

ผู้วิจัย นางสาวมณิภา รวดเร็ว

ปีการศึกษา 2568

วันที่เผยแพร่ 23 กุมภาพันธ์ 2568

บทคัดย่อ

 

แบบรายงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ประเภท ครูผู้สอน

หัวข้อ การส่งเสริมการสอนแบบ STEM/STEAM Education

โรงเรียนบ้านบึงขวาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๑

 

 

ชื่อผลงาน        การสร้างทักษะการเรียนรู้ตามแนวคิด STEALM Education เพื่อสร้างความตระหนักด้าน

สิ่งแวดล้อม มีความคิดสร้างรรค์และเป็นยอดนักประดิษฐ์

ผู้เสนอผลงาน   นางสาวมณิภา  รวดเร็ว

ตำแหน่ง         ครู คศ.1

โรงเรียน          บ้านบึงขวาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เครือข่ายศีขรภูมิ ๓ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๑

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1.     ความสำคัญของวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ สานงานต่อ ก่องานใหม่ “เรียนดี มีความสุข” ทุกมิติ เดินหน้า “ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทางครูผู้สอนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต ด้วยการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโลก โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกระดับการศึกษาให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและมีหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความสนใจและความต้องการของผู้เรียน โดยนำหลัก STEALM ศึกษาเข้ามาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ 1) การบูรณาการความรู้ – เชื่อมโยงวิชาต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กัน 2) การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ (Hands-on Learning) – นักเรียนได้ลงมือทำและแก้ปัญหาจริง 3) การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ – ศิลปะช่วยเพิ่มมุมมองที่หลากหลายในการแก้ปัญหา 4) การกระตุ้นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 – เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ การทำงานเป็นทีม และการแก้ปัญหา

             อีกทั้ง ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอย ฝุ่น pm2.5 และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากมาย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ครูผู้สอนได้นำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practices) การสร้างทักษะการเรียนรู้ตามแนวคิด STEALM Education เพื่อสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม มีความคิดสร้างรรค์และเป็นยอดนักประดิษฐ์ โดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างทักษะอาชีพและทักษะชีวิต หาแนวทางจัดการด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมและตรงตามความสนใจของผู้เรียน

 

         

. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

          2.1 วัตถุประสงค์

                    2.1.1 เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม

                    2.1.2 เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการแก้ไข้ปัญหา โดยเฉพาะการคิดขั้นสูง

                    2.1.3 เพื่อสร้างเจตคติที่ดีในเรียนแบบ STEALM Education

                    2.1.4 เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านกระบวนการลงมือปฏิบัติจริงแบบกลุ่ม เพิ่มทักษะการสื่อสาร

การเป็นผู้นำและมีความมุ่งมั่นในการทำงาน

 

 

2.2 เป้าหมาย

          2.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ

                    - นักเรียนโรงเรียนบ้านบึงขวางชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน

131 คน ได้เรียนรู้การทำโครงงานและนวัตกรรมกิจกรรม STEALM Education

          2.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

- นักเรียนได้แนวคิด STEALM Education เป็นฐานในการเรียนรู้แบบโครงงานและ

สร้างชิ้นงานนวัตกรรม

 

2.     ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรม

     โรงเรียนบ้านบึงขวางได้นำหลักการจัดการเรียนการสอน STEALM Education มาใช้ในการขับเคลื่อนการสร้างชิ้นงาน/นวัตกรรมรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยมีการท้าทายผู้เรียนให้ได้แก้ปัญหาหรือสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนด โดยมีกรอบและขั้นตอนในการดำเนินงานดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

องค์ประกอบของ S T E A L M

S T E A L M

S

Science

วิทยาศาสตร์

T

Technology

เทคโนโลยี

E

Engineering

วิศวกรรมศาสตร์

A

Arts

ศิลปะ

L

English Linguistics

ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ

M

Mathematics

คณิตศาสตร์

 

ดำเนินงานตามกระบวนการ PDCA ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ (Plan)

1.     วิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายของโรงเรียนที่สอดคล้องกับการส่งเสริมทักษะชีวิตให้แก้นักเรียน

2.     ศึกษาหลักสูตรและแนวทางการจัดกิจกรรมแบบ STEALM Education

3.     ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดผ่านการเรียนรู้แบบ STEALM Education มาบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน

4.     พัฒนาครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยีและภาษาอังกฤษ

5.     ให้ความรู้แก่บุคลากรครูและนักเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ STEALM ที่บูรณาการในรายวิชาต่างๆ พร้อมทั้งเห็นประโยชน์ในการนำการจัดการเรียนการสอนแบบ STEALM Education