ชื่อเรื่อง การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนา ทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย มนิตย์ แช่มช้อย
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 24 กุมภาพันธ์ 2568
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการ
เรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการ
เรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา วิธีดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัย
และพัฒนา (R&D) มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา
รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการ
เรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการ
คำนวณ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนอนุบาลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน
ได้ม าโด ย วิธีการสุ่ม แ บ บ ก ลุ่ม ( Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 3) คู่มือการใช้รูปแบบ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม
รูปแบบที่พัฒนาขึ้น 5) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ
7) แบบสอบถามความพึงพอใจ ส ถิติที่ใช้ใน ก าร วิเค ร าะ ห์ข้อ มูล ได้แ ก่ ค่าร้อ ย ล ะ ค่า เฉ ลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการ
คำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา พบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพ
ปัญหาของการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ตามความคิดเห็นของครู มีระดับ
การปฏิบั ติ อยู่ใน ระดับ มาก 2) ข้อมูลพื้ น ฐาน เกี่ยวกับ ความต้องการ นักเรียน พบ ว่า นักเรียน
มีความต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะ
การแก้ปัญหา ในระดับมากที่สุด
ข
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนา ทักษะ
การแก้ปั ญ หา มีองค์ป ระกอบ ของรู ป แบ บ 5 องค์ป ระกอบ คื อ 1) ห ลักการ 2) วัตถุป ระสงค์
3) กระบวนการเรียนการสอน 4) ระบบสังคม และ 5) ระบบสนับสนุน โดยกระบวนการเรียนการสอน
มีวิธีดำเนินการ 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นสังเกตและทำความเข้าใจ ขั้นที่ 3 ขั้น น ำไป ใช้ ป ฏิ บั ติ ขั้ น ที่ 4 ขั้น ป ระเมิ น ผล แ ละขั้ น ที่ 5 ขั้น น ำเส น อผ ล งาน แ ล ะป ระยุ กต์ ใช้
ผลการประเมินคุณภาพความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในระดับมากที่สุด และการหา
ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบ พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2)เท่ากับ 81.93/80.56 ถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะ
การแก้ปัญหา พบว่า
3.1 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้
รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.24/84.11 ถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชา
วิทยาการคำนวณ มีคะแนนการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
3.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชา
วิทยาการคำนวณ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะ
การแก้ปัญหา พบว่า
4.1 ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อ
พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี นักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหา ในปีการศึกษา 2566 คิดเป็นร้อยละ 81.17 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 คิดเป็นร้อยละ 79.17 คิดเป็นความต่างร้อยละ และคะแนนผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียน ในปีการศึกษา 2566 คิดเป็นร้อยละ 84.11 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 คิดเป็น
ร้อยละ 80.56 คิดเป็นความต่างร้อยละ
4.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการ
เรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( X = 4.57, S.D = 0.49)