ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี 11 โดยบูรณาการร่วมกับรูปแบบการสอนเทคนิค The Mastery Teaching Program ของ ฮันเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเชียงใหม่มัธยม
ผู้วิจัย นริศรา ศรีทานนท์
ปีการศึกษา 2568
วันที่เผยแพร่ 2 มีนาคม 2568
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ
เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี 11 บูรณาการร่วมกับรูปแบบการสอนเทคนิค The Mastery
Teaching Program ของ ฮันเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนเชียงใหม่มัธยม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี 11 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนเชียงใหม่มัธยม โดยใช้แบบฝึกทักษะบูรณาการร่วมกับรูปแบบการสอนเทคนิค The
Mastery Teaching Program ของ ฮันเตอร์ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 ที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง
การแต่งกาพย์ยานี 11 บูรณาการร่วมกับรูปแบบการสอนเทคนิค The Mastery
Teaching Program ของ ฮันเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนเชียงใหม่มัธยม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม
(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ แบบฝึกทักษะ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะ
เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี 11 โดยใช้เทคนิค The Mastery Teaching Program ของ ฮันเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์
80/80 ที่กำหนดไว้คือ E1/E2 เท่ากับ 89.43/89.38
2.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี 11 โดยใช้เทคนิค The
Mastery Teaching Program ของ ฮันเตอร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 มีความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ
เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี 11 บูรณาการร่วมกับรูปแบบการสอนเทคนิค The Mastery
Teaching Program ของ ฮันเตอร์ อยู่ในระดับมาก (= 4.26, S.D.= 0.68)