Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษ (Excellence in Science and Mathematics : ESM) โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15

ผู้วิจัย นายสัญญา บุญหยาด

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 3 มีนาคม 2568

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษ (Excellence in Science and Mathematics : ESM) โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 ปีการศึกษา 2567 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของโครงการห้องเรียนพิเศษ (Excellence in Science and Mathematics : ESM) โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 โดยการประเมิน ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 380 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 177 คน และ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 177 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ จำนวน 6 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วยแบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ รวม จำนวน 8 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือใช้สูตร IOC และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ  ใช้สูตรค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาร์ค

ผลการประเมิน ดังนี้

1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้

1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ   มากที่สุด

1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้

2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด

2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก

2.3 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้

3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด

3.2 ร้อยละของการติดตามโครงการ พบว่า การติดตามโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100  ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด

4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 11 ตัวชี้วัด ดังนี้

4.1 กิจกรรมการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้สายชั้นห้องเรียนพิเศษ (ESM) พบว่า    ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก

4.2 กิจกรรมสอนเสริมนอกเวลาสำหรับนักเรียนสายชั้นห้องเรียนพิเศษ (ESM) พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก

4.3 กิจกรรมค่ายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนสายชั้นห้องเรียนพิเศษ (ESM) พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด

4.4 กิจกรรมการฝึกเพิ่มทักษะการว่ายน้ำส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของนักเรียนสายชั้นห้องเรียนพิเศษ (ESM) พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก

4.5 กิจกรรมส่งเสริมอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์สายชั้นห้องเรียนพิเศษ (ESM) พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก

4.6 กิจกรรมส่งเสริมอัจฉริยภาพทางภาษาต่างประเทศสายชั้นห้องเรียนพิเศษ (ESM) พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด

4.7 กิจกรรมค่ายบูรณาการนักเรียนสายชั้นห้องเรียนพิเศษ (ESM) พบว่า ผ่านเกณฑ์   การประเมิน ในระดับมากที่สุด

4.8 กิจกรรมการศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียนสายชั้นห้องเรียนพิเศษ (ESM) พบว่า       ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด

4.9 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก

4.10 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่าความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก

4.11 ระดับความพึงพอใจของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว ความพึงพอใจของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก