Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น

ผู้วิจัย นางสาวสุมิตรา ฉิมมา

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 3 มีนาคม 2568

บทคัดย่อ

ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 - 2100 เป็นยุคของการเปลี่ยนแปลง ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีการปรับรูปแบบการสอน และสืบค้นองค์ความรู้ใหม่ๆ มาถ่ายทอดให้นักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยผู้เรียนจะใช้ความรู้ในสาระหลักไปบูรณาการสั่งสมประสบการณ์กับ ทักษะ 3 ทักษะ เพื่อการ ดำรง ชีวิตในศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ โดยต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่สำคัญและจำเป็นต่อตัวนักเรียนอย่างแท้จริง มุ่งไปที่ให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ครูเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก ในการเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ โดยมีประเด็นคำถามอยากรู้เป็นตัวกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจให้อยากเรียน ที่จะนำไปสู่การกระตือรือร้นที่จะสืบค้น กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ (Active Learning : AL) ภายใต้กรอบแนวคิด Thailand 4.0 สู่สถานศึกษา ซึ่งจะต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านหน่วยการเรียนรู้ที่ เชื่อมโยงนโยบายสู่การปฏิบัติจากความรู้เชิงนามธรรมสู่วิธีการปฏิบัติเชิงรูปธรรมในระบบการจัดการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินการแปลงนโยบายให้เป็นแนวทาง ปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสถานศึกษาให้จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางฯ ให้ได้คุณภาพในผลผลิตที่ดีและเกิดผลลัพธ์ในเป้าหมายการขับเคลื่อนประเทศโมเดล Thailand 4.0 ด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แนว (Active Learning : AL) ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนของ QSCCS กระบวนการใน 5 ขั้นตอนของ QSCCS ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 Learn to Question ได้แก่การเตรียมแหล่งเรียนรู้การเตรียมบทบาทครู การสำรวจชุมชนสร้างแรงบันดาลใจ และการระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 2 Learn to Search ได้แก่การสืบค้น วิเคราะห์จำแนกแยกแยะข้อมูลที่ถูกต้องและการออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ขั้นที่ 3 Learn to Construct ได้แก่ การลงมือปฏิบัติจากการเรียนรู้การทดลอง การสร้างชิ้นงาน การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและของจริง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 4 Learn to Communicate ได้แก่ การสรุปข้อมูลเพื่อนำเสนอ สื่อสารใน รูปแบบต่าง ๆ และขั้นที่ 5 Learn to Service ได้แก่ การประยุกต์ต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสังคม/องค์กร ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติ โรงเรียนบ้านเหวตาบัว จึงนำกระบวนการเรียนรู้ตามขั้นตอนของ QSCCS มาบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นบูรณาการกับรูปแบบ HTBSAPPAN MODEL  เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ครบทุกด้านตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีเป้าหมายชัดเจน และอาศัยแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นศูนย์การเรียนรู้โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าเขาซับแกงไก่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” และวัดป่าชุมชนเขาซับแกงไก่  หมู่บ้านลำน้ำเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลเขาน้อย อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิ่น กลุ่มแม่บ้าน ชุมชน ร่วมกันถ่ายทอดความรู้ ซึ่งมีกิจกรรมหลักคือ การนำสมุนไพรในท้องถิ่น ได้แก่ “ต้นฝาง” สามารถพบได้จำนวนมากบริเวณเขาซับแกงไก่ ซึ่งมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นภูเขาดินผสมหินปูน มีการนำส่วนต่างๆ ของต้นฝางมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑต่างๆ ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน และเปิดให้ชาวบ้านผู้สนใจเข้าศึกษาวิชาการสร้างอาชีพจากศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรได้หลายอาชีพ นอกจากนักเรียนจะได้สัมผัสกับภูมิปัญญาจากปราชญ์ชาวบ้านแล้วยังสามารถศึกษาวิธีการต่างๆ แล้วนำไปปฏิบัติได้จริงตรงตามหลักการใช้ชีวิตแบบพอเพียงได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ซึ่งจะนำไปสู่ กระบวนการ Active learning ได้ง่าย โดยให้นักเรียนได้คิดทุกชั่วโมง ทุกวิชา คิดอย่างอัตโนมัติ ไม่เพิ่มภาระงาน แต่นักเรียนจะมีเวลาเพิ่ม และเข้าใจ เข้าถึงความรู้แบบมีความหมาย และรู้ว่าสิ่งที่เรียนไปเกิดประโยชน์ ต่อชีวิตประจำวัน สร้างเวที และสถานการณ์ให้นักเรียนในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ทักษะ และเห็นคุณค่าในการปฏิบัติงานจนสำเร็จ แล้วเติมเต็มด้วยเครือข่ายแหล่งเรียนรู้นำมาบูรณาการเข้าสู่ห้องเรียน เพราะแหล่งเรียนรู้เป็นระบบ นิเวศทางการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้ใช้ความรู้บนฐานของการปฏิบัติจริงจากปราชญ์ท้องถิ่น ที่มีการบ่มเพาะ ประสบการณ์จนกลายเป็น Soft power ของความเป็นไทยได้ครบทุกมิติต่อยอดด้านอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองครอบครัว ภายใต้กิจกรรมของสถานศึกษา “พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น”