ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL
ผู้วิจัย นายนิรุทธิ์ พิุกลเทพ
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 4 มีนาคม 2568
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้
2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3)
ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 4)
ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ
WATSAWANGAROM SCHOOL กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 รองผู้บริหารสถานศึกษา
ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน กลุ่มที่ 2 รองผู้บริหารสถานศึกษา
หัวหน้างานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหัวหน้างานวัดและประเมินผลการศึกษาและหัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา รวมจำนวน 14 คน และกลุ่มที่ 3 รองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 29 คน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 188 คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 - 3 จำนวน 166 คน ปีการศึกษา 2566 รวมจำนวน 354 คน และผู้ปกครองนักเรียน
โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต
1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
4 - 6 จำนวน 188 คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 166 คน ปีการศึกษา 2566 รวมจำนวน 354 คน
รวมทั้งสิ้นจำนวน 751 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการสังเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และสถิติที่ใช้ ได้แก่ 1) ร้อยละ 2) ค่าเฉลี่ย และ3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL พบว่า ในภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก (= 3.94, S.D. =
0.75)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูโรง
เรียนวัดสว่างอารมณ์โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL ในภาพรวม มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับผลการตรวจสอบระดับความถูกต้องในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.84 , S.D.
= 0.29)
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ WATSAWANGAROM SCHOOL พบว่า
มีระดับความเป็นไปได้ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.86, S.D. = 0.29) สำหรับระดับความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (
= 4.94 , S.D. =
0.15)
4. ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบ
WATSAWANGAROM
SCHOOL พบว่า
มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.76,
S.D. = 0.44)