Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาสมรรถภาพทางกายโดยใช้กีฬารักบี้ฟุตบอลผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning

ผู้วิจัย นายกฤตภาส แก่นดี

ปีการศึกษา 2568

วันที่เผยแพร่ 5 มีนาคม 2568

บทคัดย่อ

 

 


แบบรายงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ประเภท ครูผู้สอน

หัวข้อ การจัดการเรียนรู้บูรณาการด้วยการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning

โรงเรียนบ้านบึงขวาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๑

 

 

ชื่อผลงาน        การพัฒนาสมรรถภาพทางกายโดยใช้กีฬารักบี้ฟุตบอลผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning

ผู้เสนอผลงาน   นายกฤตภาส แก่นดี

ตำแหน่ง         ครูผู้ช่วย

โรงเรียน          บ้านบึงขวาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เครือข่ายศีขรภูมิ ๓ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๑

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1.     ที่มาและความสำคัญของวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

การจัดการเรียนการสอนกีฬาแบบ Active Learning เป็นการนำแนวทางที่นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการเรียนรู้มาใช้ โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์และการทดลองปฏิบัติจริงในกิจกรรมทางกาย ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะได้ดียิ่งขึ้น และนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสำคัญในการใช้ Active Learning ในการจัดการเรียนการสอนกีฬา 1) การส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีความหมาย การเรียนรู้ที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติและการทดลองจริงช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีกว่าแค่การเรียนจากทฤษฎีหรือการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว การที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและฝึกปฏิบัติจริงจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและมีความหมายมากขึ้น 2) การพัฒนาทักษะทางกายภาพ กีฬามักจะต้องการทักษะที่พัฒนาได้จากการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง 3) การส่งเสริมการทำงานเป็นทีมกิจกรรมกีฬาส่วนใหญ่ต้องการการทำงานร่วมกันเป็นทีม การใช้ Active Learning ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสื่อสาร การร่วมมือ และการทำงานเป็นทีม 4) การกระตุ้นการคิดเชิงวิจารณ์ การเรียนการสอนกีฬาแบบ Active Learning มักจะมีการตั้งคำถามหรือให้ผู้เรียนวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเกมหรือกิจกรรมกีฬา 5) การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้การเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริงจะทำให้เกิดความสนุกสนานและความท้าทาย ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่ดีในการเรียนรู้ 6) การพัฒนาทักษะทางสังคมและอารมณ์ ในขณะที่ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา

การจัดการเรียนการสอนกีฬาแบบ Active Learning มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะทางกายภาพ การคิดเชิงวิจารณ์ การทำงานเป็นทีม และการพัฒนาทักษะทางสังคมและอารมณ์ โดยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางกายช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนุกสนานไปพร้อม ๆ กัน อีกทั้ง ทางครูผู้สอน ได้พบเห็นความสามารถของนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านกีฬาที่ดี กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับเครือข่าย จังหวัดและประเทศ และระดับองค์การมีความสามัคคีในหมู่คณะและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ทั้งนี้ ทางโรงเรียนบ้านบึงขวางได้คัดเลือกกิจกรรมกีฬาฟุตบอลรักบี้ เพราะครูผู้สอนมีความเชี่ยวชาญและนักเรียนให้ความสนใจ และได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรักบี้ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประจำปี 2567 ระดับภูมิภาคแห่งประเทศไทย

. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

          2.1 วัตถุประสงค์

                    2.1.1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะกีฬารักบี้ที่ตนเองถนัด

                    2.1.2 เพื่อปลูกฝังค่านิยมในการเล่นกีฬา การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง

                    2.1.3 เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีทางเลือกในการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                    2.1.4 เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางด้านกีฬา

2.2 เป้าหมาย

          2.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ

                    - นักเรียนโรงเรียนบ้านบึงขวางชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 15 คน ได้เรียนรู้การแข่งขันการเล่นกีฬาฟุตบอลรักบี้

                    ระยะเวลา ตลอดปีการศึกษา

          2.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

- นักเรียนโรงเรียนบ้านบึงขวางมีทักษะการเล่นรักบี้ฟุตบอลที่ถูกต้อง มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และเข้าร่วมการแข่งขันกีฬารักบี้ฟุตบอล 7 คน ชิงชนะเลิศภูมิภาคแห่งประเทศไทย

- นักเรียนเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป