Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย อรตรี รอดเจริญ

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 11 มีนาคม 2568

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6     

ผู้วิจัย         นางอรตรี  รอดเจริญ

ตำแหน่ง     ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

                โรงเรียนสุราษฎร์ธานี  อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ปีการศึกษา 2566

 

บทคัดย่อ

            การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะ การคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยา โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อพัฒนา    การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และ    การทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อทดลองใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา     ปีที่ 6 และ (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ตาม          หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 36 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยา โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ (3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบอัตนัย จำนวน 15 ข้อ  แบบบันทึกการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3 หลักการ 2 เงื่อนไข 4 มิติ) และ (4) แบบประเมินความสามารถในการทำงานเป็นทีม จำนวน 15 ข้อ (5) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test (Dependent samples) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า

1.    ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรม

เป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า         การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน  มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ลงมือปฏิบัติ ได้ทำกิจกรรมที่พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ ร่วมกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ชีวิตที่มีความสุข มั่นคงและยั่งยืน แสดงออกถึงความรู้ความสามารถ และความร่วมมือในการปฏิบัติงานกลุ่มหรือการทำงานเป็นทีมจะนำไปสู่ความสำเร็จในภาพรวมและเรียนรู้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ   และส่งผลให้ผู้เรียนบรรลุตามผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง   เพื่อทำกิจกรรมโดยมีครูเป็น      ผู้อำนวยความสะดวก สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำปรึกษา ดูแล แนะนำ แสวงหาเทคนิควิธี              การจัดการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย    

          2. ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  พบว่า ประกอบด้วย   4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการของการจัดการเรียนรู้  (2) วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้    (3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นร่วมวิเคราะห์จุดหมาย (Identify Learning Objectives)    ขั้นที่ 2 ขั้นเริ่มท้าทายด้วยคำถาม (Thought – Provoking Questions) ขั้นที่ 3 ขั้นแลกเปลี่ยนตามประสบการณ์ (Experience Exchanging) ขั้นที่ 4 ขั้น      สานต่อด้วยกิจกรรม (Activity Based Learning) ขั้นที่ 5  ขั้นนำสู่การสรุปและสะท้อน (Summary and Reflecting) และขั้นที่ 6 ขั้นตอนประเมินผล (Evaluation) ผลการประเมินความเหมาะสมของพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริม                การคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับ มากที่สุด      (= 4.88, S.D. = 0.32)

              3. ผลการทดลองใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง         เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า                (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา     ปีที่ 6  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (2) ความสามารถใน                 การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6        หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (3) ความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนที่เรียนด้วยพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง         เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.76, S.D. = 0.42)

            4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการคิดวิเคราะห์                  ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากมากที่สุด  (= 4.78, S.D. = 0.40)