ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาทักษะทางอารมณ์จิตใจและสังคมของเด็กอนุบาล ๓- ๕ ขวบ ตามแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยในศตวรรษที่ ๒๑ โรงเรียนอนุบาลหนองปลาปาก เทศบาลตำบลหนองปลาปาก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
ผู้วิจัย นายพิภพ ชาวเหนือ
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 12 มีนาคม 2568
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาสภาพทักษะทางอารมณ์
จิตใจ และสังคมของเด็กปฐมวัย 3-5 ขวบ ตามแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนอนุบาลหนองปลาปาก เทศบาลตำบลหนองปลาปาก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย 2)
พัฒนาทักษะทางอารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กปฐมวัย
3-5 ขวบ ตามแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลหนองปลาปาก เทศบาลตำบลหนองปลาปาก
อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาทักษะทางอารมณ์
จิตใจ และสังคมของเด็กปฐมวัย 3-5 ขวบ ตามแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนอนุบาลหนอง ปลาปาก
เทศบาลตำบลหนองปลาปาก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
ตามนโยบายของนายกเทศมนตรีตำบลปลาปากและตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2560 ได้แก่ 1.การมีสุขภาพจิตดีและมีความสุข 2.การชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ
ดนตรี และการเคลื่อนไหว 3.การมีคุณธรรม
จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม 4.การมีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5.การรักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย และ 6.การอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยใช้กระบวนการ PAOR ตามแนวคิดของ Kemmis และ Mc Taggart ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 2 วงรอบ
คือ ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นการลงมือปฏิบัติ (Action)
ขั้นการสังเกตการณ์ (Observation) และขั้นการสะท้อนผล
(Reflection) โดยใช้กลยุทธ์การพัฒนาครู การจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
และการนิเทศภายใน มีกลุ่มผู้ร่วมวิจัย 6 คน ประกอบด้วย
ผู้วิจัย ครูผู้สอนประจำชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 โรงเรียนอนุบาลหนองปลาปาก
เทศบาลตำบลหนองปลาปาก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 31
คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย 6 คน และตัวแทนเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่
1-3 จำนวน 5 ห้องเรียน ๆ ละ 5 คน รวมเป็นจำนวน 25 คน ได้มาโดยวิธีการ สุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 2 ฉบับ แบบสังเกตการณ์จัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็ก
และแบบประเมินคุณลักษณะของเด็กการตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า
(Triangulation) วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
(Descriptive Analysis) แล้วนำเสนอโดยการบรรยาย
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาก่อนดำเนินการพัฒนา
พบว่า ครูผู้สอนยังขาดความรู้และทักษะในการจัด
ประสบการณ์เรียนรู้ที่ควบคู่การพัฒนาทักษะทางอารมณ์ จิตใจ
และสังคมของเด็กปฐมวัย 3-5 ขวบ ตามแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
ไม่ใช้สื่อในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ และสอนโดยไม่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายไม่สนใจเรียน
ส่วนด้านเด็กพบว่าเด็กบางส่วนขาดทักษะทางอารมณ์ จิตใจ และสังคม เช่น การ
มีสุขภาพจิตไม่ดี ไม่กล้าแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี ไม่อยากเคลื่อนไหว
ขาดคุณธรรม จริยธรรม ไม่รู้จักความเป็นไทย และไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี
2.
การดำเนินการพัฒนาทักษะทางอารมณ์
จิตใจ และสังคมของเด็กปฐมวัย 3-5 ขวบ
ตามแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยในศตวรรษที่
21 โรงเรียนอนุบาลหนองปลาปาก เทศบาลตำบลหนองปลาปาก
อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาโดยใช้กลยุทธ์การพัฒนาครูเพื่อให้ความรู้และมีทักษะในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ควบคู่กับการพัฒนาทักษะทางอารมณ์
จิตใจ และสังคมของเด็กปฐมวัย 3-5 ขวบ ตามแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
และการนิเทศภายในอย่างต่อเนื่อง ตลอดปีการศึกษา 2567
ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) จำนวน 2 วงรอบ เพื่อให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ
และประเมินผลการพัฒนาทักษะทางอารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กปฐมวัย 3-5 ขวบ
ตามแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยในศตวรรษ ที่ 21 ปรากฏผลดังต่อไปนี้
2.1 ครูมีความรู้ ประสบการณ์ใหม่ ๆ
และเกิดทักษะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะทางอารมณ์ จิตใจ
และสังคมของเด็กปฐมวัย 3-5 ขวบ ตามแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยในศตวรรษ ที่ 21 อยู่ในระดับมาก
2.2 เด็กปฐมวัย 3-5 ขวบ มีทักษะทางอารมณ์
จิตใจ และสังคม ตามแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยในศตวรรษ ที่ 21
โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก
3. ผลที่เกิดจากการพัฒนาทักษะทางอารมณ์
จิตใจ และสังคมของเด็กปฐมวัย 3-5 ขวบตามแนวทางการ
จัดการศึกษาปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
ในช่วงปีการศึกษา 2567 ทำให้ครูมีการปรับปรุงพัฒนาตนเองในการจัดประสบการณ์เรียนรู้
ส่งผลดีทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ และสังคม