ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางปิยะตา จิตตะนัง
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 30 มีนาคม 2568
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)
เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch
ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 การดำเนินการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน (Research
and Development) และขยายผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)
จํานวน 40 คน และขยายผลกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ จํานวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย
Scratch ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (OFDM
Model) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4) แบบวัดความสามารถในการเขียนโปรแกรม 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้
6) แบบวิเคราะห์เอกสาร 7) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที แบบ Paired Samples t-Test และสถิติทดสอบค่าที แบบ One Sample t-Test และการวิเคราะห์เนื้อหา
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช
2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) พบว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในการคิดอย่างเป็นระบบ
เป็นไปตามลำดับขั้นตอน รู้จักการวางแผนด้วยเหตุผล ส่งเสริมทักษะขั้นพื้นฐานให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพในศตวรรษที่
21 สามารถนำเทคโนโลยีไปสร้างนวัตกรรมอย่างมีความคิดสร้างสรรค์
เพื่อตอบสนองต่อโมเดลประเทศไทย 4.0 จึงกำหนดให้มีการจัดการ เรียนรู้ไว้ในสาระที่
4 เทคโนโลยี มาตรฐานการเรียนรู้ ว 4.2 ตัวชี้วัดที่
2 ของทุกชั้นปี โดยคำนึงถึงความต่อเนื่องในการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้
และการประเมินผลที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดที่มีความชัดเจน ซึ่งจากการศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร
โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกครูผู้สอนและผู้เรียน ได้ข้อสรุปประเด็นปัญหา คือ นักเรียนแต่ละคนมีพื้นฐานความรู้และทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีแตกต่างกัน
ทำให้มีปัญหาในการนำสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ผู้เรียนไม่ได้รับการฝึกทักษะและกระบวนการคิดตามเป้าหมายและหลักการของวิชาวิทยาการคำนวณและการเขียนโปรแกรม
(Coding) ขาดความเชื่อมโยงกับการใช้งานในชีวิตจริงหรือ การบูรณาการกับวิชาอื่น
ครูผู้สอนไม่ได้สร้างกิจกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน
ไม่มีการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง รวมทั้งขาดสื่ออุปกรณ์ในการจัดการเรียนรู้
และสามารถสรุปประเด็นความต้องการที่เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่
การปูพื้นฐานการเริ่มต้นการเขียนโปรแกรมโดยผ่านกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม
ปรับระบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ เน้นการบูรณาการกับทักษะในชีวิตจริง ควรฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
การลงมือปฏิบัติและแก้ปัญหาด้วยตนเอง ควรฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมและการใช้งานบล็อคคำสั่ง
และควรมีวิธีการประเมินทักษะการคิดเชิงคำนวณ ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การประเมินต้องสอดคล้องกับตัวชี้วัด
มีการประเมินแบบหลายมิติ รวมทั้งควรนำสื่อออนไลน์และแพลตฟอร์มการเรียนรู้มาใช้ในการประเมินโดยสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับได้ทันที
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 ได้รูปแบบการเรียนการสอน มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้
5) การวัดและประเมินผล 6) ปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ ขั้นที่ 2 ขั้นพัฒนาทักษะกระบวนการ โดยใช้ OFDM Model ประกอบด้วย
1) สังเกต/รับรู้ (O : Observe/receive) 2) ทำตามแบบ (F
: Follow the pattern) 3) ทำเองโดยไม่มีแบบ (D :
Do-it-yourself without pattern) 4) ฝึกให้ชำนาญ (Master) ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป และขั้นที่ 4 ขั้นวัดผล โดยประสิทธิภาพของรูปแบบมีค่าเท่ากับ 86.55 /
82.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80 / 80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 (นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง)
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2
ความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ
84.65 อยู่ในระดับดีมาก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
4. ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
นอกจากนี้ การขยายผลการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ พบว่า
1. นักเรียนกลุ่มขยายผล มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนกลุ่มขยายผล
มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch
หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)
เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch
ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ
85.95 อยู่ในระดับดีมาก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
3. นักเรียนกลุ่มขยายผล
มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)
เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch
ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก