ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิด การกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ผู้วิจัย นางจุฑารัตน์ สุระโคตร
ปีการศึกษา 2568
วันที่เผยแพร่ 1 เมษายน 2568
บทคัดย่อ
ชื่อวิจัย การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิด
การกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ผู้วิจัย นางจุฑารัตน์
สุระโคตร
ปีที่วิจัย 2565-2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของการวิจัย
ดังนี้ 1)
เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดการกำกับตนเอง
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม 3)
เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และ 4)
เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดการกำกับตนเอง
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา
(Research
and
Development: R&D) มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ
และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4/7 โรงเรียนราษีไศล
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 34 คน ได้จาก
การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster
Random sampling)
โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ใช้ระยะเวลา ในการทดลอง 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2
ชั่วโมง รวมเวลาการทดลอง 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร
2) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 3) แบบสอบถาม
ความคิดเห็น 4) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ ที่พัฒนาขึ้น 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
7) แบบทดสอบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 8) แบบประเมินรูปแบบตามมาตรฐานการประเมิน
4 ด้าน และ 9) แบบสอบถาม ความพึงพอใจ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t - test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดการกำกับตนเอง
เพื่อส่งเสริมทักษะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
พบว่า นักเรียนมีความเห็นว่าสภาพปัจจุบันโดยรวม ครูมีการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก
( =
4.33, S.D. = 0.61) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
ด้านที่มีการปฏิบัติ มากที่สุด คือ
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รองลงมาคือ และด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้และด้านการวัดและประเมินผล
ตามลำดับ จากการสนทนากลุ่มครูในโรงเรียน
เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา การจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
เปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิด ลงมือปฏิบัติตามความถนัด เกิดปฏิสัมพันธ์ สร้างความเชื่อมั่นต่อตนเองและผู้อื่น
รู้จักการทำงานและแบ่งงานกันทำ ฝึกความมั่นใจในตนเองและ มีความรู้สึกที่เป็นอิสระโดยการเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งคำถามได้ด้วยตนเอง
2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ การเรียนรู้ตามแนวคิดการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
พบว่า 2.1 รูปแบบ การเรียนการสอน มี 7 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการ
2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการ จัดการเรียนรู้
4) ระบบสังคม 5) ระบบสนับสนุน 6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และ 7) การประเมินผลรูปแบบ 2.2 ผลการตรวจสอบรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน 5 ท่าน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอน มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก
และ 2.3 ผลการหาประสิทธิภาพ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ
83.90/82.29 ถือว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ ตามแนวคิดการกำกับตนเอง
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม พบว่า
3.1 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน
มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
3.2
นักเรียนมีคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม
คิดเป็นร้อยละ 87.39 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ
80
4.
ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ ตามแนวคิดการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม พบว่า
4.1 รูปแบบการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของครูผู้สอนสังกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม เห็นว่ารูปแบบมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง ในระดับมากที่สุด
( =
4.52, S.D. = 0.54)
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดการกำกับตนเอง
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( =
4.51, S.D. = 0.61)