Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางเทคโนโลยีและกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์)

ผู้วิจัย พัชรี สังข์ทอง

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 10 เมษายน 2568

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง   การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางเทคโนโลยีและ

               กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน

               เทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์)  

ผู้วิจัย     พัชรี สังข์ทอง

ปีที่วิจัย   2567

บทคัดย่อ

 

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางเทคโนโลยีและกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 120 คน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 6 คน ผู้ปกครอง 120 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 10 คน ของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิย‍แหวนรังสรรค์) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสม แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินผลการทดลองใช้ แบบประเมินและปรับปรุงคุณภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

        ผลการวิจัยพบว่า

           1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความต้องการการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และพบปัญหาการขาดแคลนครูที่จบสาขาวิทยาศาสตร์โดยตรง สื่อการเรียนรู้และอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอ และการวัดผลที่เน้นความรู้เชิงทฤษฎีมากกว่าทักษะกระบวนการ

           2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น คือ "PATCHA Model" ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น (ขั้นตั้งคำถามและระบุปัญหา ขั้นวิเคราะห์และออกแบบ ขั้นลงมือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำกัด ขั้นตรวจสอบและประเมิน ขั้นประยุกต์และดัดแปลงสู่การใช้จริง) และปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 5 กิจกรรม ความสอดคล้องและความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.66)

           3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.08, S.D. = 0.66) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การนำความรู้ไปใช้ได้จริง (  = 4.24, S.D. = 0.72) และพฤติกรรมที่สะท้อนทักษะทางเทคโนโลยีและกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.80, S.D. = 0.66)

           4. ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.42, S.D. = 0.63) และความพึงพอใจต่อรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.39, S.D. = 0.48) โดยด้านที่มีความพึงพอใจสูงสุดคือ ประโยชน์ต่อสถานศึกษา (  = 4.53, S.D. = 0.46)

 

คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการเรียนรู้, ทักษะทางเทคโนโลยี, ทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม