ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะด้านการอ่าน เขียนพยัญชนะไทยและสระของนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง และการให้รางวัล
ผู้วิจัย นางสาวธัญญารัตน์ เตชะนันท์
ปีการศึกษา 2568
วันที่เผยแพร่ 11 เมษายน 2568
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมองและการให้รางวัล ต่อการพัฒนาทักษะการอ่านเขียนของนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจากการใช้สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมองและการให้รางวัล จากการจัดการเรียนการสอน เรื่องการอ่าน เขียนพยัญชนะไทยและสระสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งมีขั้นตอนในการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนผล โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงเป็นนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ เพศ หญิง อายุ 15 ปี จำนวน 1 คน ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ อยู่ในระดับชั้นเตรียมความพร้อมในห้องเรียนอำเภอวังเหนือ 2 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ใช้เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 11 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมิน 3) แบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1. นักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ อำเภอวังเหนือ 2 ที่ใช้สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง และการให้รางวัลต่อการพัฒนาทักษะด้านการอ่าน เขียนพยัญชนะไทยและสระ อยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึก 5 ชุดเพื่อการพัฒนาทักษะด้านการอ่าน เขียนพยัญชนะไทยและสระ ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.12 คิดเป็นร้อยละ 82.36 ของคะแนนเต็ม แสดงว่าประสิทธิภาพของกระบวนการ มีค่าเท่ากับ 82.36
2.
นักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้
อำเภอวังเหนือ 2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจากการใช้สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมองและการให้รางวัล
จากการจัดการเรียนการสอน เรื่องการอ่าน เขียนพยัญชนะไทย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 19.6 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.95 คิดเป็นร้อยละ
65.33 ของคะแนนเต็ม และคะแนนเฉลี่ย
จากการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 24.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
2.07 คิดเป็นร้อยละ 81.33 ของคะแนนเต็มการจัดการเรียนการสอน เรื่องการอ่าน เขียนสระไทย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 18.8 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.39 คิดเป็นร้อยละ
62.67 ของคะแนนเต็ม และคะแนนเฉลี่ย
จากการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 24.6 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
2.70 คิดเป็นร้อยละ 82.00 ของคะแนนเต็ม
คำสำคัญ สื่อผ่านการมอง, การให้รางวัล, บกพร่องทางการเรียนรู้, การอ่าน, การเขียน