Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ

ผู้วิจัย นางสาวภัสสรา มูลสา

ปีการศึกษา 2568

วันที่เผยแพร่ 21 เมษายน 2568

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำๆ

1. ความสำคัญของผลงานนวัตกรรม

1.1 เหตุผลที่เกิดจากแรงบันดาลใจ ความจำเป็น ปัญหาหรือความต้องการที่จะทำผลงานนวัตกรรม

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนาฏศิลป์ที่ผ่านมาพบว่าในห้องเรียนหนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยนักเรียน 3 กลุ่ม คือ นักเรียนเก่ง ปานกลางและอ่อน นักเรียนที่เรียนอ่อนมักจะประสบปัญหา คือ เรียนไม่ทันเพื่อน หรือไม่ทันกับระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละเนื้อหา ทำให้นักเรียนกลุ่มเกิดความคับข้องใจ เกิดความท้อแท้ใจ คิดว่าตนเองไม่มีความสามารถหรือความถนัดทางด้านนาฏศิลป์ จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ไม่สนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะผู้เรียนได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันทั้งชั้น ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด ส่งผลให้นักเรียนเกิดความเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เด็กที่เรียนอ่อนกลุ่มนี้จึงควรได้รับความสนใจจากครูเป็นพิเศษ โดยอาจจะใช้วิธีการสอน ซ่อมเสริม เพื่อช่วยให้สามารถเรียนได้ทันเพื่อน หรือให้มีความรู้ความสามารถ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

ผู้จัดทำจึงนำการจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ

ทำซ้ำ ๆ เนื่องจากการปฏิบัติท่ารำนาฏศิลป์ไทย เป็นทักษะการปฏิบัติที่ต้องใช้ทุกส่วนของร่างกาย จัดระเบียบร่างกายให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง ดังนั้น การปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยจึงต้องมีการฝึกฝน การปฏิบัติซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นทักษะ ซึ่งครูผู้สอนต้องมีหน้าที่เป็นผู้สาธิต โดยให้นักเรียนปฏิบัติตามและทำซ้ำ ๆ เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติท่ารำได้ถูกต้องและสวยงาม

1.2 แนวคิดหลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลงานหรือนวัตกรรมสามารถอ้างถึงแนวคิดหลักการทฤษฎีรูปแบบ วิธีการ ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการออกแบบผลงานหรือนวัตกรรมได้

การจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำๆ

MACRO model คือแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการมาจากแนวคิดของการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน ที่สามารถสรุปออกมาเป็นขั้นตอนการสอนได้ 5 ขั้นตอน ซึ่งแต่ละองค์ประกอบนั้นมีรายละเอียด ดังนี้

M จากคำว่า Motivation หมายถึง การสร้างแรงจูงใจ สร้างแรงบันดาลใจ ความสนใจและความต้องการในการเรียนรู้ ขั้นนี้เป็นขั้นแรกของการเรียนรู้ตามแนวการสอนนี้ เป็นขั้นที่ครูผู้สอนจะต้องร่วมมือกับผู้เรียนในการกำหนดและตั้งประเด็นการเรียนรู้ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ตามแผนที่ยึดโยงกับหลักสูตร ผู้เรียนจะต้องรับรู้ถึงจุดหมายและมีแรงจูงใจในการเรียนรู้บทเรียน โดยผู้สอนสามารถเลือกใช้กิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การเล่าเรื่อง การศึกษาจากบทความหรือคำประพันธ์ หรือ การชมวีดิทัศน์ต่าง ๆ เพื่อการนำเข้าสู่บทเรียนและการเรียนรู้ แล้วพยายามให้นักเรียนเกิดความสนใจ เกิดคำถามและข้อซักถามต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนตั้งประเด็นที่ต้องการรู้ และการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนด้วยกิจกรรม ซึ่งจุดที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือการที่ผู้เรียนต้องสามารถตั้งประเด็นอภิปรายได้ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ในขั้นถัดไป

A จากคำว่า Active learning ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้ความรู้โดยตรงจากการ

ลงมือทำด้วยตนเองผ่านวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับการสอนในขั้นนี้ ครูควรให้ความรู้พื้นฐานกับผู้เรียนเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ แนวทางการสืบค้นความรู้เพื่อให้ได้ความรู้ที่ต้องการ ส่วนที่ 2 คือ ศาสตร์ สาขา แขนงความรู้และแหล่งความรู้ที่เกี่ยวข้อง และ ส่วนที่ 3 คือ การเรียบเรียงข้อมูล ค้นพบ ความคิดเห็น และการให้เหตุผลโต้แย้งและสนับสนุน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจถึงกระบวนการสร้างองค์ความรู้ ในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งได้ ซึ่งครูผู้สอนจำเป็นต้องมีเทคนิคในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การอภิปรายกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การระดมสมอง และ การใช้สถานการณ์จำลอง เป็นต้น โดยเน้นไปที่กระบวนการคิดเป็นหลัก ผู้เรียนจะศึกษาค้นคว้าตามประเด็นความรู้หรือหัวข้อที่ตกลงกัน โดยครูผู้สอนจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมมือกันในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

C จากคำว่า Conclusion ซึ่งเป็นการที่ผู้เรียนสามารถสรุปองค์ความรู้หรือสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความคิดและภาษาของตนเองได้ โดยขั้นนี้จะเป็นการที่ผู้เรียนจะนำผลการอภิปรายและสาธิตที่เป็นผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน มากำหนดเป็นความคิดหรือองค์ความรู้ใหม่ และสรุปออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเขียนแผนผังโครงการ บทความ การทำรายงาน การบรรยาย หรือ การสรุปองค์ความรู้ในลักษณะอื่น ๆ ซึ่งครูผู้สอนจะทำหน้าที่ในการประเมินองค์ความรู้ของผู้เรียนเพื่อให้ทราบถึงองค์ความรู้และความสมบูรณ์ขององค์ความรู้ที่ผู้เรียนได้รับ

R จากคำว่า Reporting คือการที่ผู้เรียนสื่อสารและนำเสนอผลการเรียนรู้ด้วยภาษา วิธีการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ซึ่งเป็นขั้นของการช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำเสนอและแสดงผลงาน ที่ได้จากการสร้างองค์ความรู้ของตัวเอง เพื่อให้บุคคลอื่นได้รับรู้ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตัวเอง และช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนออีกด้วย

O จากคำว่า Obtain ซึ่งเป็นการที่ผู้เรียนนำผลการเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ เผยแพร่ความรู้สู่ครอบครัว ชุมชน และสังคมต่าง ๆ ซึ่งขั้นนี้จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้นมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งหลังจากนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้แล้ว ก็ควรที่จะเผยแพร่องค์ความรู้ไปยังครอบครัว ชุมชน และสังคม หรืออาจเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็ได้

การสอนแบบ MACRO Model นั้น นับเป็นแนวการสอนที่ช่วยฝึกให้ผู้เรียนกล้าตั้งคำถาม กล้าคิด กล้าแสดงออก และกล้าตัดสินใจ ซึ่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนจากการที่ผู้เรียนไปแค่ผู้รับฟังเพียงอย่างเดียว ไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองแบบร่วมมือ ซึ่งกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจใฝ่รู้ และรู้จักเรื่องรู้เพื่อแก้ปัญหา สามารถตกผลึกองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตัวเองโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้อง และสนับสนุนให้ผู้เรียนนำองค์ความรู้ที่ได้ประยุกต์ใช้ และนำเสนอสู่ภายนอก เพื่อให้เกิดประโยชน์หรือความเข้าใจแก่บุคคลอื่นในระดับสาธารณะ

2. จุดประสงค์และเป้าหมายของผลงานนวัตกรรม

2.1 จุดประสงค์

1. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ และตระหนักถึงศิลปวัฒนธรรมไทยที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

2. เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติท่ารำจนเกิดทักษะทางนาฏศิลป์ไทย

3. เพื่อให้นักเรียนมีพัฒนาการท่ารำนาฏศิลป์ไทยและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

2.2 เป้าหมาย

เชิงปริมาณ

1. นักเรียนร้อยละ 100 เกิดความภาคภูมิใจ และตระหนักถึงศิลปวัฒนธรรมไทยที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

2. นักเรียนร้อยละ 100 สามารถปฏิบัติท่ารำจนเกิดทักษะทางนาฏศิลป์ไทย

3. นักเรียนร้อยละ 100 มีพัฒนาการท่ารำนาฏศิลป์ไทยและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

เชิงคุณภาพ

1. นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ และตระหนักถึงศิลปวัฒนธรรมไทยที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

2. นักเรียนสามารถปฏิบัติท่ารำจนเกิดทักษะทางนาฏศิลป์ไทย

3. นักเรียนมีพัฒนาการท่ารำนาฏศิลป์ไทยและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

3. จุดเด่นและกระบวนการ

ผู้จัดทำได้นำเสนอการจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ

กระบวนการ การจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ

M motivation การสร้างแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ ความสนใจและความต้องการในการเรียนรู้

A active learning การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้มีโอกาสได้ความรู้โดยตรงจากการลงมือกระทำด้วยตนเอง ด้วยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่หลากหลายเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

C conclusion ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้หรือสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความคิดและภาษาของตนเอง

R reporting ผู้เรียนสื่อสารและนำเสนอผลการเรียนรู้ด้วยภาษาวิธีการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม

O obtain ผู้เรียนนำผลการเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์เผยแพร่ความรู้สู่ครอบครัว ชุมชน และสังคม ด้วยวิธีการ สื่อ หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม

กระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ

สาธิต ครูเป็นผู้สาธิตการปฏิบัติให้แก่ผู้เรียน

ปฏิบัติ ให้นักเรียนปฏิบัติตามครู

ทำซ้ำ ๆ นักเรียนฝึกฝนทำซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นทักษะ

4. กระบวนผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน

การจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (P)

1. ศึกษาปัญหา ความต้องการ และสิ่งที่ควรพัฒนากิจกรรมการเรียนนาฏศิลป์ไทย

2.ศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model

ขั้นที่ 2 การดำเนินการ (D)

3.นำการจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ มาทดลองใช้กับนักเรียนชมรมนาฏศิลป์

ขั้นที่ 3 สรุปและประเมินผล (C)

4. สรุปปัญหาและการประเมินผล การจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ

ขั้นที่ 4 ปรับปรุงตามผลการประเมิน (A)

5. นำการสรุปปัญหาและการประเมินผลการการจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขั้นที่ 5 การวางแผน (P)

6. ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน การจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ ให้กับครูในกลุ่มสาระเรียนรู้ศิลปะได้รับทราบ

ขั้นที่ 6 การดำเนินการ (D)

7. นำการจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ ไปใช้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชา นาฏศิลป์

ขั้นที่ 7 สรุปและประเมินผล (C)

8. สรุปปัญหาและการประเมินผล การจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ

ขั้นที่ 8 ปรับปรุงตามผลการประเมิน (A)

9. นำการสรุปปัญหาและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อนำไปใช้กับนักเรียนทุกระดับชั้น

5. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ

ผลที่เกิดตามจุดประสงค์

จากการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Macro Model ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสาธิต ปฏิบัติ ทำซ้ำ ๆ พบว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเชิงรูปธรรม กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้

1. นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ และตระหนักถึงศิลปวัฒนธรรมไทยที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เช่น สังเกตได้จากการที่นักเรียนได้แสดงนาฏศิลป์ไทยได้อย่างไม่เขินอาย แสดงออกด้วยความภาคภูมิใจ วัดจากแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

2. นักเรียนสามารถปฏิบัติท่ารำได้ถูกต้องจนเกิดทักษะทางนาฏศิลป์ไทย

3. นักเรียนมีพัฒนาการท่ารำนาฏศิลป์ไทยและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น