Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทยตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย นางปาริยา หานาวี

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 30 เมษายน 2568

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

              ในการวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1)  ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  2)  พัฒนาและสร้างรูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทยตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค  CIRC  เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย  เรื่อง  มาตราตัวสะกด  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3           3)  ศึกษาผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น  ดังนี้  3.1)  หาประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  3.2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น  3.3 เปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น  4)  ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น  การวิจัยแบ่งเป็น  4  ระยะ  ดังนี้  ระยะที่ 1  กลุ่มเป้าหมายคือ  ครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองแก่งคอย  จำนวน  4  คน  และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง จำนวน  12  คน  เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่  แบบสัมภาษณ์ครูและแบบสัมภาษณ์นักเรียนแบบมีโครงสร้าง  ระยะที่  2  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ  ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน  7  คน  เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่  แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้  ระยะที่  3  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3/3  จำนวน  26  คน  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2566  โรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง  สังกัดเทศบาลเมืองแก่งคอย  จังหวัดสระบุรี  เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่  1)  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  จำนวน 18  แผน  2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  มีค่าความยากง่าย  (p)  ตั้งแต่  0.32 - 0.76  และมีค่าอำนาจจำแนก  (B)  ตั้งแต่  0.24 - 0.80  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากั บ  0.93  3)  แบบประเมินทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย  มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.80 – 1.00  และระยะที่  4 กลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3/3  จำนวน  26  คน  เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่  แบบสอบถามความพึงพอใจ  มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)  ตั้งแต่ 0.80 – 1.00  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ  (rxy) ตั้งแต่  0.28 - 0.70  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  0.88  สถิติที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบ  t-test  (Dependent Sample)

              ผลการวิจัย

                  1.  ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน  พบว่า  ผลการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย  ครูส่วนใหญ่สอนแบบบรรยาย  อธิบายเนื้อหาให้นักเรียนเข้าใจ  เน้นการท่องจำมากกว่าการฝึกให้นักเรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ครูผู้สอนต้องหาวิธีแก้ไขและปรับปรุงวิธีการสอน  โดยควรเน้นรูปแบบการสอนที่หลากหลาย  และมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัย  มีความน่าสนใจและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงควรพัฒนารูปแบบการสอนโดยเน้นให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและลงมือปฏิบัติจริง  เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกอ่านและเขียนมากยิ่งขึ้น

                     2 ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทยตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับ             การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค  CIRC  เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย  เรื่อง  มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  (ISALA  Model)  มี  6  องค์ประกอบ  คือ  1 หลักการ  2)  วัตถุประสงค์  3 กระบวนการจัดการเรียนรู้  4 ระบบสังคม  5 หลักการตอบสนอง  และ  6 สิ่งสนับสนุน  มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้  5  ขั้นตอน  คือ  ขั้นที่  1  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  (Introduction : I)  ขั้นที่  2 การแสวงหาความรู้ใหม่  (Seeking New Knowledge : S)  ขั้นที่  3  ขั้นปฏิบัติการเรียนรู้  (Action of Learning : A)  ขั้นที่  4  ขั้นสรุปบทเรียน  (Lesson Summary : L)  และขั้นที่  5  ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้  (Application : A)  และผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ  มีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 

                     3.  ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทยตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค  CIRC  เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย  เรื่อง  มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ดังนี้

                     3.1  รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ  (E1/E2)  เท่ากับ 84.09/83.27  ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80 

                        3.2  นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

                         3.3  นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีทักษะ        การอ่านและการเขียนภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

                   4.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทยตามทฤษฎี          การสร้างความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย  เรื่อง  มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก