Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)

ผู้วิจัย สันติ พันธ์พุฒ

ปีการศึกษา 2568

วันที่เผยแพร่ 2 พฤษภาคม 2568

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)

ชื่อผู้วิจัย    สันติ พันธ์พุฒ

ปีที่ศึกษา   2566

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ      การนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)    2. เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์) 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์) 4. เพื่อประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์) จำนวน 36 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ตารางของ Krejcie & Morgan (1970 : 607)  จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน แบบทดสอบ สังเกตพฤติกรรมการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครู แบบประเมินความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ และการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t – test (dependent) การวิเคราะห์เนื้อหา และการถอดบทเรียนผลการวิจัยพบว่า  

1.  วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ควรมุ่งการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูเป็นประเด็นที่สำคัญมากในการพัฒนาครูให้สามารถพัฒนาตนเองและ   การจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพมากขึ้น ผ่านการวิจัยที่มาจากปัญหาจริงในห้องเรียน โดยมีการนิเทศเป็นกลไกสนับสนุน ให้ครูมีสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู ในการวางแผน ดำเนินการ และประเมินผลการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในบริบทจริงของตนเอง

2. สร้างรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์) ใช้รูปแบบ “SCIPA Model” ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) Supervision : S การนิเทศแบบสังเกตการสอน เป็นการเข้าไปสังเกตการสอน สังเกตอย่างไม่เป็นทางการ ไม่เฉพาะเจาะจงจุดใดจุดหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่ต้องมีการบอกล่วงหน้า 2) Classifying : C การวางแผนในแบ่งหมวดหมู่ครู การคัดกรองระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อจัดกลุ่มครู และเลือกวิธีการนิเทศที่เหมาะสมกับกลุ่มครูแต่ละกลุ่ม 3) Informing : I การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ เกี่ยวกับการนิเทศการวิจัยในชั้นเรียน เทคนิควิธีสอนที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาให้แก่ครู 4) Proceeding : P การดำเนินงาน ประกอบด้วย 3 ขั้น (1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน (Pre-Conference) (2) การสังเกตการสอน (Observation) (3) การประชุมหลังการสังเกตการสอน (Post- Conference) และ 5) Assessing : A การประเมินผลการนิเทศ โดยมีการกำกับ ติดตาม (Monitoring) ทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินการนิเทศเกิดประสิทธิภาพ

3. ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์) โดยเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังอบรม การนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (สำหรับครู) มีคะแนนก่อนการอบรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 และหลังการอบรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.86 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการอบรม พบว่ามีความต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาพบว่า คะแนนหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม

4. ประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)

4.1 ผลการสังเกตพฤติกรรมการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครู จากการสังเกตพฤติกรรมการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ครูสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนของตนเองได้เป็นอย่างดี เพราะมีขั้นตอนของการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน มีการให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจ ตลอดเวลา ให้ความรู้ อธิบาย ชี้แจง และร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้แก่ครูทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งมีบางเรื่องที่ผู้วิจัยได้เข้าไปช่วยเหลือ แนะนำ จากข้อมูลดังกล่าวเป็นที่น่าพอใจที่ครูมีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น มีความสามารถในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน พัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูและผลการเรียนรู้ของนักเรียนให้สูงขึ้น รวมทั้งพัฒนาวิชาชีพของตนเองอีกด้วย

4.2 ประเมินความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครู พบว่า ครูมีความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครู อยู่ในระดับมาก

4.3 ประเมินความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการทำโครงงานอยู่ในระดับมาก

4.4 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู พบว่า ครูมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก

4.5 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก

4.5 การถอดบทเรียน จากการสนทนากลุ่ม ด้านองค์ประกอบรูปแบบ พบว่า ครูผู้ร่วมสนทนากลุ่มให้ความคิดเห็นว่า องค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมและสอดคล้องซึ่งกันและกัน กระบวนการนิเทศ SCIPA Model ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นกระบวนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาที่มีขั้นตอนเริ่มจากการนิเทศเพื่อให้ทราบถึงปัญหาของครูที่จัดการเรียนการสอน จนถึงการแบ่งกลุ่มเพื่อเลือกแนวทางแก้ไขปัญหาเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์ เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องและ  สัมพันธ์กันของแต่ละขั้นตอน ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งด้าน การพัฒนางานและองค์ความรู้