ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง
ผู้วิจัย นายเสกสรร คนไว
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 13 พฤษภาคม 2568
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล
12 บ้านช้าง และ 4)
เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้
ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive
Sampling) ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง
เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 11
คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ครั้งนี้
ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2) แบบตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 4 ฉบับ
3) แบบตรวจสอบผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน 4) แบบตรวจสอบผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์
และ 5) รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ NT และ
O-NET ดำเนินการตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียน โดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และครูผู้มีประสบการณ์สอนไม่น้อยกว่า 10 ปี วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า
1.
ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล
12 บ้านช้าง โดยรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า
ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้มีการปฏิบัติระดับมากที่สุด รองลงมา คือ
ด้านการพัฒนาและส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา
การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ตามลำดับ
2.
ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล
12 บ้านช้าง พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการ ดำเนินงาน แนวทางการประเมิน
และเงื่อนไขความสำเร็จ โดยกระบวนการดำเนินงานของรูปแบบ SEPLC-E Model ประกอบด้วย การศึกษาและวิเคราะห์ (Study and analyze) กระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ (Efficient operation process) กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และ
การประเมินผล (Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิโดยภาพรวม
รูปแบบการบริหารงานวิชาการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3.
ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล
12 บ้านช้าง พบว่า การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา
2566 กับ 2567 จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในปีการศึกษา 2567
สูงกว่าปีการศึกษา 2566 จำนวน 6 กลุ่มสาระ
และต่ำกว่าปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 กลุ่มสาระ
คือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
โดยทุกกลุ่มสาระที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สูงกว่าค่าเป้าหมายที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้ร้อยละ 70 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มีผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test: RT) เฉลี่ยร้อยละ
84.37 สูงกว่าระดับสังกัด ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 78.44และสูงกว่าระดับประเทศ ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 77.44
และนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่
3 มีผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT)
เฉลี่ย ร้อยละ 72.30
สูงกว่าระดับสังกัด ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 56.15 ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 57.81 ครูมีความสามารถในการปฏิบัติงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล
12 บ้านช้าง โดยรวม ทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด
4.
ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล
12 บ้านช้าง พบว่า
ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง
ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล
12 บ้านช้าง อยู่ในระดับมากที่สุด ครู
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล
12 บ้านช้าง ในระดับพึงพอใจมากที่สุด