ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยรูปแบบการสอนแบบ GBL (Game-Based Learning)
ผู้วิจัย นางรุจิสา พิมสาร
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 22 พฤษภาคม 2568
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
2 ด้วยรูปแบบการสอนแบบ GBL (Game-Based
Learning)
ผู้ศึกษา นางรุจิสา พิมสาร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง สำนักการศึกษา
เทศบาลนครเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่
ปีที่ศึกษา 2567
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยรูปแบบการสอนแบบ GBL (Game-Based
Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยรูปแบบการสอนแบบ GBL (Game-Based Learning)
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2567 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนนักเรียน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง
มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยรูปแบบการสอนแบบ GBL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
มาตราตัวสะกด จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยรูปแบบการสอนแบบ GBL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.10/80.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยรูปแบบการสอนแบบ GBL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าดัชนีประสิทธิผล
เท่ากับ 0.6326 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการอ่าน
ร้อยละ 63.26