Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม

ผู้วิจัย นายสมบูรณ์กฤช แดงฟู

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2568

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ           การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชน   บ้านวังจ๊อม 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม และ 3) ประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ      การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชน   บ้านวังจ๊อม ซึ่งได้ดำเนินการ ดังนี้ 1) ศึกษาเอกสาร งานวิจัย และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง              2) สัมภาษณ์ครู และผู้ปกครอง และ 3) จัดสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้มาโดย  การเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบ       การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชน   บ้านวังจ๊อม ซึ่งได้ดำเนินการ ดังนี้ 1) ยกร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม 2) ตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม โดยจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และ 3) ทดลองใช้ร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชน    บ้านวังจ๊อม กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงที่โรงเรียนชุมชน     บ้านวังจ๊อม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติพื้นฐานหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม ซึ่งดำเนินการโดยสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงกับโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง   การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย  

            1.  การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม พบว่า มีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 จุดมุ่งหมายของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยนำเข้า องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการ และองค์ประกอบที่ 5 ผลลัพธ์

           2.  การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม ภาพรวม พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ดังต่อไปนี้ ภาวะผู้นำทางวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด การพัฒนาบุคลากรวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด การขับเคลื่อนภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด และกระบวนการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามลำดับ  

           3.  การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิต

ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม พบว่า มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานร่วมกับระบบ Q -Info เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม อยู่ในระดับมากที่สุด