Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบจัดการเรียนรู้เรื่องการทำขนมทองโย๊ะโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความหมายและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ควบคู่กับการเรียนรู้แบบโครงงานสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย นายเอกราช ปัญญาโรจน์

ปีการศึกษา 2568

วันที่เผยแพร่ 4 มิถุนายน 2568

บทคัดย่อ

                    การพัฒนารูปแบบจัดการเรียนรู้เรื่องการทำขนมทองโย๊ะ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความหมายและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ควบคู่กับการเรียนรู้แบบโครงงานสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนจัดการเรียนรู้เรื่องการทำขนมทองโย๊ะ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความหมายและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ควบคู่กับการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยรูปแบบจัดการเรียนรู้เรื่องการทำขนมทองโย๊ะ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความหมายและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ควบคู่กับการเรียนรู้แบบโครงงานสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑  (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์  3) เพื่อประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยรูปแบบจัดการเรียนรู้เรื่องการทำขนมทองโย๊ะ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความหมายและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ควบคู่กับการเรียนรู้แบบโครงงานสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ผ่านรูปแบบจัดการเรียนรู้เรื่องการทำขนมทองโย๊ะ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความหมายและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ควบคู่กับการเรียนรู้แบบโครงงานสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์  
                      ประชากรที่ใช้การศึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ จำนวน 4 ห้อง รวมทั้งหมด 127 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา    ปีที่ 6/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ จำนวน 33 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) ซึ่งใช้วิธีการจับฉลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เนื่องจากนักเรียนในแต่ละห้องมีความสามารถ 3 ระดับ  คือ เก่ง ปานกลางและอ่อนเหมือนกันทุกห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้ ได้แก่  1) จัดการเรียนรู้เรื่องการทำขนมทองโย๊ะ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความหมายและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ควบคู่กับการเรียนรู้ แบบโครงงานสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ เวลาการจัดการเรียนรู้ 10 ชั่วโมง  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบปรนัยมี 4 ตัวเลือก 3) ประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ จำนวน 20 ข้อ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการรู้จำนวน 10 ข้อ 
                        สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และสถิติทดสอบค่าที (t – test)  ผลการศึกษาข้อมูล พบว่า
        1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.67/84.34
        2. นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                        3. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยนักเรียนมีสามารถตั้งคำถามเชิงวิเคราะห์สูงสุด รองลงมาคือนักเรียน          ประเมินความคิดเห็นและคำถามจากเพื่อนร่วมชั้นเพื่อปรับปรุงและพัฒนางานนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
       4. นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก