Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รายงานการจัดกิจกรรมการทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะทางสมอง EF (Executive Function) สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบางนายสี

ผู้วิจัย ทัศนีย์ อันติมานนท์

ปีการศึกษา 2568

วันที่เผยแพร่ 11 มิถุนายน 2568

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง        รายงานการจัดกิจกรรมการทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะทางสมอง

                  EF (Executive Function) สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 

                  โรงเรียนเทศบาลบางนายสี

ผู้วิจัย           ทัศนีย์  อันติมานนท์

สถานศึกษา   โรงเรียนเทศบาลบางนายสี

ปีการศึกษา    2568

บทคัดย่อ 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะทางสมอง EF (Executive Function) สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบางนายสี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบางนายสี ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2568 โรงเรียนเทศบาลบางนายสี สังกัดเทศบาลตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 กิจกรรม 2) แผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 12 แผน และ 3) แบบประเมินพัฒนาการทักษะทางสมอง EF (Executive Function) จำนวน 3 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและค่าประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า

          1. ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะทางสมอง EF (Executive Function) สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบางนายสี มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 90.17/95.26 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

            2. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะทางสมอง EF (Executive Function) ก่อนการจัดกิจกรรมการทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 1.93 (x-bar= 1.93) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.36 (S.D. = 0.36) และหลังการจัดกิจกรรมการทดลองสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์  มีคะแนนเฉลี่ย 2.86 (x-bar= 2.86) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.34 (S.D. = 0.34) และมีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 30.89