Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิด Thinking School เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย นางสาวเจนจิรา อินภู่

ปีการศึกษา 2563

วันที่เผยแพร่ 22 มิถุนายน 2564

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิด Thinking School เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิด Thinking School 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิด Thinking School เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิด Thinking School เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ตามแนวคิด Thinking School เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 แผน รวมเวลา 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีลักษณะเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนตามแนวคิด Thinking School เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.45 ถึง 0.69 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนจาก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 38 คน ที่กาลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบัวใหญ่ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ผลการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิด Thinking School ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากคะแนนหลังเรียน ได้คะแนนเฉลี่ย 98.55 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.12 ดังนั้น E1/E2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.12/87.12

2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิด Thinking School มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิด Thinking School เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ที่โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : การพัฒนาการคิด, วิชาภาษาไทย เรื่อง รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก,

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ