ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนแบบโครงงานเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงออกแบบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย ชัยยุทธ ถนอมวงษ์
ปีการศึกษา 2564
วันที่เผยแพร่ 19 พฤศจิกายน 2565
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาทักษะการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การพัฒนารูปแบบ การทดลองใช้ ประเมินประสิทธิผลและถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนแบบโครงงาน
เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงออกแบบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 นักเรียน 19 คน และกลุ่มเป้าหมายการถอดบทเรียน เป็นผู้บริหารสถานศึกษา
ครู ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์
และนักเรียน
จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม
แบบทดสอบ และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การวิเคราะห์เนื้อหา และการถอดบทเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาทักษะการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า การเรียนการสอนนักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ
โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้หรือค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่นักเรียนอยากรู้ ใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการสอน สื่อควรสนับสนุนนำเสนอได้หลายรูปแบบ
2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนแบบโครงงานเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงออกแบบ
ได้รูปแบบ RPD Model ประกอบด้วย (1) ทบทวนความรู้เดิม (Review)
(2) นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present new Information) (3) หลากหลายการเรียนรู้ (Differentiated
Learning)
3) การทดลองใช้รูปแบบ พบว่า มีผลการประเมินประสิทธิภาพ 83.41/84.74 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 การประเมินความสามารถในการเรียนโครงงาน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4) การประเมินและถอดบทเรียน พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับมาก การถอดบทเรียน พบว่า การจัดการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนแบบโครงงาน
เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงออกแบบ
เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมสำหรับพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน เน้นลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
โดยมีปัญหาการเรียนรู้เป็นจุดเริ่มต้น ครูหานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา มีการสังเกตและตรวจสอบผลของการแก้ปัญหา
แล้วจึงบันทึกและสะท้อนการแก้ปัญหา มุ่งส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหา
ช่วยให้นักเรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีการฝึกให้ทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จะทำให้นักเรียนเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ ให้กับนักเรียน ให้มีประสิทธิภาพ
อันจะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
คำสำคัญ : การเรียนแบบโครงงาน การคิดเชิงออกแบบ