ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามแนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย ชัญญาพัทธ์ คุ่มเคี่ยม
ปีการศึกษา 2565
วันที่เผยแพร่ 3 พฤษภาคม 2566
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ
Active Learning ตามแนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่
3
ผู้ศึกษา ชัญญาพัทธ์ คุ่มเคี่ยม ตำแหน่ง
ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง)
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ
Active Learning ตามแนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง) จำนวน 27
คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active
Learning ตามแนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและแบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ
Active Learning ตามแนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามแนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์
องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้
กระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสัมพันธ์ (C-
Correlation) 2) ขั้นสร้างประสบการณ์ (A
- Advance) 3) ขั้นสร้างองค์ความรู้ใหม่ (N - New knowledge) 4) ขั้นสรุปองค์ความรู้ (Y-Yield) และ 5) ขั้นนำเสนอความรู้
(A-Announce) หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ
Active Learning ตามแนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่
3 นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ
Active Learning ตามแนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (CANYA Model) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด