Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนกำแพงวิทยา ปีการศึกษา 2564

ผู้วิจัย อับดลรอศักดิ์ มณีโส๊ะ

ปีการศึกษา 2564

วันที่เผยแพร่ 28 มิถุนายน 2566

บทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนกำแพงวิทยา ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ของการประเมินดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพสิ่งแวดล้อมของโครงการเกี่ยบกับความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของการดำเนินโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ การบริหารจัดการและหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงาน (Plan) การดำเนินการ    จัดกิจกรรม (Do) การติดตามและประเมินผล (Check) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนา (Action) 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ ในประเด็นคุณภาพ การมีส่วนร่วม ทักษะอาชีพ และความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) เป็นแนวทางการประเมิน

          กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณค่าขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (R.V. Krejcie and D.W. Morgan, 1970 อ้างถึงในพิสณุ ฟองศรี, 2554: 143) และสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ระดับชั้นเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 317 คน ครู ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณค่าขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (R.V. Krejcie and D.W. Morgan, 1970 อ้างถึงในพิสณุ ฟองศรี, 2554: 143) และสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 66 คน ผู้ปกครอง กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (บุญชม ศรีสะอาด, 2560 : 43) โดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 317 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (บุญชม ศรีสะอาด, 2560 : 43) ยกเว้นผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้แทนครู จำนวน 13 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีทั้งหมด 7 ฉบับ ซึ่งเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับโดยมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.87-0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

 

สรุปผลการประเมิน

ผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนกำแพงวิทยา ปีการศึกษา 2564 สรุปผลได้ดังนี้ 

1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (  = 4.17, S.D. = 0.44) ส่วนกลุ่มครู อยู่ในระดับมากเช่นกัน (  = 4.12, S.D. = 0.46)

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (  = 4.12, S.D.  = 0.40) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (  = 4.28, S.D. = 0.48) รองลงมา คือ ด้านความพร้อมของบุคลากร อยู่ในระดับมาก ( = 4.21, S.D. = 0.45) ส่วนด้านความเพียงพอของงบประมาณมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน (  = 3.94, S.D. = 0.49) กล่องข้อความ: 127 

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.18, S.D. = 0.22)  รองลงมา คือ กลุ่มครู อยู่ในระดับมาก (  = 4.13, S.D. = 0.44)

4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น

4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D. = 0.28) รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D.= 0.43) และกลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D.= 0.43) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน (  = 3.93, S.D.= 0.42)

4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน กล่องข้อความ: 146เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D.= 0.34)  รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 4.06, S.D. = 0.35)  และกลุ่มผู้ปกครอง มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 4.05, S.D. = 0.39)  ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากเช่นกัน (  = 4.01, S.D.  = 0.41)

4.ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D.  = 0.35) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.06, S.D. = 0.44)

      4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (  = 4.17, S.D.  = 0.41) รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.14, S.D. = 0.29) และกลุ่มผู้ปกครอง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D. = 0.32) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.02, S.D. = 0.42)

 

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้

          1. ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมสนับสนุนให้ปราชญ์ชาวบ้าน และสถานประกอบการในชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ ร่วมวางแผนการดำเนินงาน และทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของปราชญ์ชาวบ้าน และสถานประกอบการในการดูแลนักเรียนที่ไปฝึกทักษะทางด้านอาชีพ ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน ควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน ร่วมมือในการแก้ปัญหาของนักเรียน ให้ความคิดเห็นและเสนอแนะเกี่ยวกับการฝึกทักษะอาชีพของนักเรียน และประเมินทักษะอาชีพของนักเรียนร่วมกับครูที่รับผิดชอบ

          2. ผู้บริหารสถานศึกษาควรชี้แจงทำความเข้าใจ สร้างความร่วมมือ สนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมถึงพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนด้านอาชีพ ในส่วนของครูควรกระตุ้นให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทุกขั้นตอน

          3. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ควรจัดประชุมทำความเข้าใจกับนักเรียนถึงบทบาทหน้าที่ของนักเรียนในการเรียนรู้ทางด้านอาชีพตามรูปแบบที่โรงเรียนได้วางไว้ และครูต้องคอยเป็นพี่เลี้ยงให้กับนักเรียนขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพด้วยตนเอง

4. การดำเนินการสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพทั้ง 3 รูปแบบ ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการประสานงานที่ดีและเข้าใจตรงกันของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งควรมีการประเมินทักษะอาชีพของนักเรียน ตามตัวชี้วัดที่โรงเรียนกำหนดอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพให้กับนักเรียน  

          5. ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพของนักเรียนอย่างหลากหลายตามความสนใจของนักเรียนแต่ละคน

ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป

          1. ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน

2. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

3. ควรมีการศึกษาวิจัย ประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการทุกโครงการมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล