ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน โรงเรียนละงูพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล
ผู้วิจัย นายอำนาจ ฤทธิ์ภักดี
ปีการศึกษา 2565
วันที่เผยแพร่ 27 ธันวาคม 2566
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียน โรงเรียนละงูพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล
ชื่อผู้รายงาน นายอำนาจ ฤทธิ์ภักดี
ปีการศึกษา 2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง
เพื่อทดลองใช้ และเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนละงูพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล วิธีดำเนินการวิจัย
3 ขั้นตอน คือ (1) สร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์
โดยการศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ยกร่างและตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ
โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน (2)
ทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนละงูพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล กับครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 609
คน ในปีการศึกษา 2565
(3) ประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนละงูพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล จากครูและบุคลากร
ทางการศึกษา จำนวน 67 คน ปีการศึกษา 2566 สถิติที่ใช้ คือ
ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสรุปข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนละงูพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา
สตูล มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่
หลักการ จุดประสงค์ กลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลยุทธ์ ได้แก่
กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพวิชาการ
กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาครู
และบุคลากรทางการศึกษา กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 5 การสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการจัดการศึกษา
และผลลัพธ์จากการพัฒนา ได้แก่ ผลลัพธ์ตรง (Output) คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ผลลัพธ์ตาม (Outcome) คือ
ผลการพัฒนาตามกลยุทธ์ทั้ง
5 กลยุทธ์ โดยรูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียน โรงเรียนละงูพิทยาคม พบว่า ปีการศึกษา
2565 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 80.31 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากคะแนนเฉลี่ย
ปีการศึกษา 2564 เท่ากับ 0.46 พฤติกรรมด้านการปฏิบัติงานกลุ่ม และพฤติกรรมด้านความสนใจและรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
และผลการพัฒนาตามกลยุทธ์ มีดังนี้ (1) ผลการพัฒนาคุณภาพวิชาการ พบว่า
หลักสูตรสถานศึกษามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับท้องถิ่น
มีการจัดรายวิชาเพิ่มเติมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัด ความสามารถและความสนใจ
ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
(2) ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พบว่า
นักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถ ลงมือปฏิบัติเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน มีนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า
มีทักษะการอ่าน ฟัง ดู พูด เขียน และตั้งคำถามเพื่อค้นหาความรู้เพิ่มเติม
ใช้เทคโนโลยีใน การเรียนรู้และนำเสนอผลงาน
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พัฒนาตนเองตามความสนใจและความถนัดอย่างเต็ม
ตามศักยภาพ และมีความสุขกับการเรียน (3) ผลการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พบว่า ครูมีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียน วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญา
ใช้สื่อเทคโนโลยี
ที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย พัฒนาตนเอง และนำความรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
(4) ผลการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้
พบว่า มีจัดหาสื่อ
และนวัตกรรมการศึกษาให้เพียงพอ มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูผลิตสื่อและนวัตกรรมการศึกษา และนำสื่อมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น (5) ผลการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการจัดการศึกษา
พบว่า ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาการระดมทรัพยากร
และกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียน โรงเรียนละงูพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา
สตูล พบว่า โดยรวมมีความเป็นไปได้
ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก