ชื่อเรื่อง รายงานการการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การบวก ลบ คูณ หาร จากวิธีการเล่น เอแม็ท(เกมต่อสมาการคณิตศาสตร์) ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)
ผู้วิจัย โรงเรียนบ้านหนองม่วง
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 4 กุมภาพันธ์ 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนกิจกรรมชุมนุมเอแม็ท(เกมต่อเลขคำนวณ)โดยใช้การสอนแบบค้นพบเรื่องการบวก
การลบ การคูณและการหารชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์
80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนกิจกรรมชุมนุมเอแม็ท(เกมต่อสมาการคณิตศาสตร์)โดยใช้การสอนแบบค้นพบเรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยใช้ชุดการเรียนกิจกรรมชุมนุมเอแม็ท(เกมต่อสมาการคณิตศาสตร์)โดยใช้การสอนแบบค้นพบเรื่อง การบวก การลบ การคูณและการหาร บ้านหนองม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต
5
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านหนองม่วงที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2566 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Random Sampling) ซึ่งเป็นห้องที่ผู้รายงานทำหน้าที่เป็นครูประจำชั้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 15 แผน 2) ชุดการเรียนกิจกรรมเอแม็ท(เกมต่อสมาการคณิตศาสตร์)โดยใช้การสอนแบบค้นพบ และ3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน
30 ข้อ ค่าความยากง่าย (p) ที่ผ่านเกณฑ์อยู่ระหว่าง 0.25–
0.80 และค่าอำนาจจำแนกที่ผ่านเกณฑ์ (r)อยู่ระหว่าง 0.25–0.86 มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ
.79 3)แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
4-6 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนกิจกรรมเอแม็ท(เกมต่อสมาการคณิตศาสตร์)โดยใช้การสอนแบบค้นพบ จำนวน 10 ข้อ มีคาความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ
0.91
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก
ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความเชื่อมั่น
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียนกิจกรรมเอแม็ท(เกมต่อสมาการคณิตศาสตร์)โดยใช้การสอนแบบค้นพบเรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่
4-6 มีประสิทธิภาพ 93.20/ 81.47
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยชุดการเรียนกิจกรรมเอแม็ท(เกมต่อสมาการคณิตศาสตร์)โดยใช้การสอนแบบค้นพบเรื่องการบวก การลบ
การคูณ และการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3.
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
ที่เรียนด้วยชุดการเรียนกิจกรรมเอแม็ทเกมต่อสมาการคณิตศาสตร์)โดยใช้การสอนแบบค้นพบเรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร ที่เรียนด้วย โดยรวมมีความพึงพอใจเท่ากับ 4.47 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก