Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502) โดยประยุกต์ใช้แนวคิด CIRC ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share)

ผู้วิจัย นางนิรมล ตันตินิติธรรม

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 10 กุมภาพันธ์ 2567

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 24 คน โรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502) อำเภอเมือง  จังหวัดภูเก็ต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบประเมินการอ่านเพื่อความเข้าใจ  แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t–test (Dependent)

        ผลการวิจัยพบว่า

        1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านประกอบด้วย ขั้นตอนคือขั้นเตรียม (Warm up) ขั้นสอน (Teacher Presentation) ขั้นกิจกรรมกลุ่ม (Team Practice) ขั้นประเมินผล (Testing) บูรณาการกับเทคนิค Think Pair Share เป็นการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ประกอบด้วยขั้นตอนคือ  ขั้นคิด (Think) ขั้นจับคู่ (Pair) และขั้นแบ่งปัน (Share) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบมีค่าเฉลี่ย 4.53  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50  ซึ่งมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด

        2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  พบว่า การอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5       สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ     ที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  อยู่ในระดับมาก