Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนสีเขียวของโรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ผู้วิจัย นายไกรสุวิทย์ ไชยพาน

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 29 กุมภาพันธ์ 2567

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง           การประเมินโครงการโรงเรียนสีเขียวของโรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว

  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ผู้ประเมิน         นายไกรสุวิทย์  ไชยพาน

ปีที่วิจัย           :  2566

 

บทคัดย่อ

   การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนสีเขียวของโรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่  การประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation)  การประเมินกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) และการประเมินผลผลิต ของโครงการ (Product Evaluation) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากร จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียน จำนวน 145 คน ซึ่งได้มาโดยใช้ตารางการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan)  รวมทั้งสิ้น 171 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า

     1. ด้านการประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context Evaluation) ผลการประเมินโครงการโดยภาพรวม

มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก (μ = 4.47, σ = 0.52) ซึ่งเมื่อเทียบเกณฑ์การประเมินถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้

     2. ด้านการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) ผลการประเมินโครงการโดยภาพรวม

มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก (μ = 4.48, σ = 0.53) ซึ่งเมื่อเทียบเกณฑ์การประเมินถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้

     3. ด้านการประเมินกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) ผลการประเมินโครงการโดยภาพรวม

มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก (μ = 4.48, σ = 0.54)ซึ่งเมื่อเทียบเกณฑ์การประเมินถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้

              4. ด้านการประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ผลการประเมิน

                    4.1 ด้านทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดี ลดการใช้พลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก (M = 4.23, SD = 0.72)

4.2 ด้านประโยชน์และคุณค่าที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ

โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก (M = 4.34, SD = 0.67)