ชื่อเรื่อง การศึกษาพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิควิธีสอนแบบโมเดลซิปปา
ผู้วิจัย วชิระ ชาวเหนือ
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 18 เมษายน 2567
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาพัฒนาผลการเรียนรู้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อพัฒนาผลการเรียนวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง
หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนมหาไชยโคกกว้างวิทยา ที่สอนโดยแผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา 2) สร้างความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องหลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมหาไชยโคกกว้างวิทยา
ที่สอนโดยแผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาการเรียนวิชาสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องหลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา พบว่า
ผลการเรียนของคะแนนทดสอบหลังเรียนมีค่า ค่าพัฒนาเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 4.87 2.
ผลจากการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชา สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมหาไชยโคกกว้างวิทยา
ที่สอนโดยแผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา อยู่ที่ร้อยละ 85.00
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลการเรียนรู้, หลักธรรมสำคัญ, เทคนิควิธีสอนแบบโมเดลซิปปา
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การศึกษามีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาความรู้
ความคิด คุณธรรม จริยธรรมและพฤติกรรมของบุคคล พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ได้กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2551
เพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลในทุกด้าน
ทั้งด้านร่างกาย ด้านความรู้ และด้านคุณธรรม รวมถึงการมีจิตสำนึกที่ดี
ในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มีความรู้ ทักษะ เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษา การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต
โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า
ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ,
2551 : 5) และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
ในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียน
มีคุณธรรมรักความเป็นไทย ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์
มีทักษะด้านเทคโนโลยี
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ (กระทรวงศึกษาธิการ,
2551 : 2)
การจัดการเรียนรู้โมเดลซิปปา มีด้วยกัน 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิมขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่ ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูลและเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้ ขั้นที่ 6 การปฏิบัติหรือการแสดงผลงาน ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้ มีข้อดีกล่าวคือ ขั้นตอนที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (Construction of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (Interaction) และฝึกฝนทักษะกระบวนการต่าง ๆ (Process Learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายที่มีลักษณะให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทางสังคม อย่างเหมาะสม อันช่วยให้ผู้เรียนตื่นตัว (Active) สามารถรับรู้และเรียนรู้ได้อย่างดี (ทิศนา แขมมณี. 2560 : 284) ดังที่ชลธิชา ศรีเพ็ชร (2552: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โมเดลซิปปาที่ผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลซิปปามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลซิปปามีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงกล่าวได้ว่า การจัดเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลจะมีผลต่อการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนและช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เรื่อง หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ พบว่าจากการ
ทำแบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งมีนักเรียนจำนวน 8 คนมีผลการทดสอบไม่ถึง 50 %
และเมื่อสอบถาม ถึงความรู้ความเข้าใจของหลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ปรากฎว่า
นักเรียนไม่สามารถอธิบายหลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ
ได้เนื่องจากนักเรียนขาดความรู้ความเข้าใจใน เรื่อง หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่างๆได้
จึงทำให้มีผลการทดสอบเรื่อง หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ผู้วิจัยจึงคิดหาวิธีการเพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการรู้ให้เกิดประสิทธิภาพแก่นักเรียนมากขึ้น
จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพด้านกระบวนการแสวงหาความรู้ การคิด
และการแก้ปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการรู้
แนวทางในการจัดรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนให้กับนักเรียนกลุ่มนี้
โดยการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น
ซึ่งผู้เรียนจะมีส่วนร่วมด้วยความกระตือรืนร้น มีความรู้สึกตื่นตัว
มีความตั้งใจและผูกพันกับสิ่งที่ลงมือกระทำและทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ดัวยตนเอง
ตามแนวคิดหลักที่เป็นพื้นฐานของการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแบบโมเดลซิปปาโดยยึดเนื้อหาตามเอกสารประกอบการเรียนในหนังสือเรียนและทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนในการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเรื่อง
หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่อง หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบโมเดลซิปปา
2. เพื่อสร้างความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิควิธีสอนแบบโมเดลซิปปา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ขอบเขตของการวิจัย
ด้านเนื้อหา
ประกอบด้วยหลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ ประชากร ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนมหาไชยโคกกว้างวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 8 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น
คือ เทคนิควิธีสอนแบบโมเดลซิปปา
ตัวแปรตาม
คือ ผลการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่อง หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบโมเดลซิปปา
วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนมหาไชยโคกกว้างวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ใบความรู้ 4) ใบงาน 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การดำเนินการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์การเรียนรู้ทางการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆทดสอบก่อนเรียนโดยใช้เทคนิควิธีสอนแบบโมเดลซิปปา จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิควิธีสอนแบบโมเดลซิปปา ทดสอบหลังแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิควิธีสอนแบบโมเดลซิปปาวิเคราะห์หาค่าพัฒนาการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการพัฒนาการเรียนวิชาสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องหลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา พบว่า
ผลการเรียนของคะแนนทดสอบหลังเรียนมีค่า ค่าพัฒนาเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 4.87
2.
ผลจากการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชา สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมหาไชยโคกกว้างวิทยา
ที่สอนโดยแผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา อยู่ที่ร้อยละ 85.00
อภิปรายผล
1. ผลการพัฒนาการเรียนวิชาสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องหลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา พบว่า
ผลการเรียนของคะแนนทดสอบหลังเรียนมีค่า ค่าพัฒนาเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 4.87
ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นในห้องเรียนเป็นกิจกรรมที่นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน
เน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม มีการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
และมี การยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่ไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป
ทำให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิด
กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแล้วสรุปความเข้าใจเป็นผังกราฟิกตามมาจากทฤษฎีการคิดของ
Bloom
(Bloom’s Taxonomy) (Bloom. 1956)
ที่ว่าความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็นการพัฒนาความคิดระดับสูง ซึ่งการที่บุคคลจะมีทักษะในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
จะต้องสามารถวิเคราะห์เข้าใจในสถานการณ์ใหม่หรือข้อความจริงใหม่ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะส่งผลให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ใหม่
ในเชิงสร้างสรรค์ เพราะเป็นการพัฒนาความสามารถในระดับการมีเหตุผลและเป็นการเรียนรู้ที่คงทนของแต่ละบุคคล
สอดคล้องกับงานวิจัยของ แก้วตา อินทรจัก (2564) ทำการวิจัยเรื่อง
ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า 1.
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
หลังการจัดการเรียนรู้ ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกเฉลี่ยเท่ากับ 16.03
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.02 เมื่อ เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ
75 พบว่าความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการจัด
การเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกเท่ากับ 11.64
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.18 และ หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.26
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.70 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน
พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัด
การเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกเท่ากับ 24.26
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.70 เมื่อ
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม
พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.
ผลจากการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชา สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่าง ๆ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมหาไชยโคกกว้างวิทยา
ที่สอนโดยแผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา อยู่ที่ร้อยละ 85.00
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจสิ่งที่เรียน
สามารถอธิบายคำตอบต่อคำถามที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนุกในการเรียน
ช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้จนผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
ทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุดาทิพย์
ดวงจินดา (2565) ทำการวิจัยเรื่อง
ผลการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา
มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 15.67
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.21 และมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.37
โดยพบว่านักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.37
โดยพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา
มีเจตคติต่อการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 68.67
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.88 และหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 84.17 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
4.62 โดยพบว่านักเรียนมีเจตคติต่อการเรียน
วิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง
หลักธรรมสำคัญของศาสนาต่างๆของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โดยใช้เทคนิควิธีสอนแบบโมเดลซิปปาโมเดล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
โรงเรียนมหาไชยโคกกว้างวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
พอสรุปข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนานักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ได้ดังนี้
1.
ควรนำเทคนิควิธีสอนแบบโมเดลซิปปาโมเดล ไปใช้ในกลุ่มสาระอื่นๆ
หรือระดับชั้นอื่นด้วย
2.
ควรนำเทคนิควิธีสอนแบบโมเดลซิปปาโมเดล
ไปใช้ทดลองสอนรวมกับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับปานกลาง
เพื่อให้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้สูงขึ้น
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
แก้วตา อินทรจักร. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ชลธิชา ศรีเพ็ชร. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบซิปปาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุดาทิพย์ ดวงจินดา. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.