ชื่อเรื่อง การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านการเขียนคำสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้วิจัย พีรพล เพื่อตนเอง
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 4 พฤษภาคม 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้างการอ่านการเขียน คำสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้างการอ่านการเขียนคำสระลดรูป และสระเปลี่ยนรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้างการอ่านการเขียนคำสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้างการอ่านการเขียนคำสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้างการอ่าน การเขียนคำสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านหล่าย สังกัดเทศบาลตำบลสบปราบ จังหวัดลำปาง จำนวน 1 ห้องเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2566 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้อง 2) หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้างการอ่านการเขียนคำสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่า องค์ประกอบต้องให้ครบตามรูปแบบในการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้างการอ่านการเขียนคำสระลดรูป และสระเปลี่ยนรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นเนื้อหาที่นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีรูปภาพประกอบ ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย นักเรียนได้ใช้สื่อทุกอย่างในหนังสือส่งเสริมการอ่านอย่างทั่วถึง โดยครูคอยดูแลและให้คำแนะนำนักเรียน และการวัดและประเมินผล .ใช้เครื่องมือที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
2. คู่มือครูและหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้าง การอ่าน การเขียนคำสระลดรูป และสระเปลี่ยนรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ค่าประสิทธิภาพแบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 66.44/63.33 ค่าประสิทธิภาพแบบกลุ่มย่อย (Small Group Tryout) เท่ากับ 75.26/73.33 และค่าประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Field Tryout) เท่ากับ 84.11/82.78
3. ผลการทดลองใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน
ชุด โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้างการอ่านการเขียนคำสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า 1) ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 คือ
E1/E2
เท่ากับ 84.80/83.00
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินผลและปรับปรุงหนังสือส่งเสริมการอ่าน
นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด
โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้างการอ่านการเขียน คำสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูปสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โดยรวมอยู่ในระดับมากและผลการปรับปรุงแก้ไข
มีการปรับปรุงการพิมพ์ สะกดคำให้ถูกต้อง ชัดเจน มีภาพประกอบเนื้อหาที่มากขึ้น
ปรับปรุงเนื้อหากิจกรรมการอ่าน ปรับปรุงข้อคำถาม ปรับปรุงกิจกรรมเพิ่มเติม และปรับปรุงระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเนื้อหามากยิ่งขึ้น