Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การบริหารการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนด้วยหลัก 2H NETWORK 4Q ศูนย์เหรียญ MODEL โรงเรียนบ้านนาทุ่งใหญ่ เพื่อส่งเสริมชุมชนในการพัฒนา Soft Power ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของตำบลนครชุม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

ผู้วิจัย นางสาวกิตติญา หมอบอก

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 12 พฤษภาคม 2567

บทคัดย่อ

บทสรุป 

นวัตกรรมวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice การบริหารการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนด้วยหลัก 2H NETWORK 4Q  ศูนย์เหรียญ MODEL โรงเรียนบ้านนาทุ่งใหญ่ เพื่อส่งเสริมชุมชนในการพัฒนา Soft Power ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของตำบลนครชุม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก                                                                                                        

ด้วยศักยภาพพื้นที่ของตำบลนครชุม สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมบนฐานการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของชุมชน ที่จะสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจธรรมชาติและวิถีวัฒนธรรมของชุมชนแก่ผู้มาเยือนโดยคำนึงถึงขีดความสามารถรองรับได้ของพื้นที่บนทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีอยู่อย่างจำกัด  และในขณะเดียวกันก็เอื้ออำนวยประโยชน์และโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ชุมชน ประกอบกับคนในชุมชนนครชุมเริ่มตื่นตัวอันเป็นผลมาจากการศึกษาว่า เมืองบางยาง อำเภอนครไทยเป็นจุดเริ่มต้นของการซ่องสุมผู้คน และใช้เกลือจากบ่อเกลือในพื้นที่ถนอมอาหาร เพื่อเตรียมเสบียงแก่ไพร่พล เพื่อนำไปสู่การกอบกู้เอกราชชาติไทยจากขอม ที่เมืองบางขลัง จนสถาปนาเป็นอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมาทำให้ชาวนครชุมเริ่มมีความตื่นตัว และสนใจที่จะศึกษาเรื่องราวประวัติความเป็นมาที่แท้จริงของชุมชน  ในขณะเดียวกันเริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเยี่ยมชมความงดงามของวิวทิวทัศน์และสัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวนครชุม นครแห่งหุบเขา ทำให้ชุมชนเห็นว่าพื้นที่บ้านของตนเองน่าจะมีศักยภาพพอที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวจาก  อัตลักษณ์ดังกล่าวของชุมชน  แต่การจะบริหารจัดการท่องเที่ยว  ชาวบ้านไม่คุ้นเคยและขาดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการบริหารจัดการ ทางการให้บริการแก่ผู้มาเยือนที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งการจะเปิดหมู่บ้านรับการท่องเที่ยวจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เช่น ความพร้อมด้านสาธารณูปโภค ปัญหาและความต้องการในด้านต่างๆ ของชุมชน รวมถึงความสมยอมที่จะมีส่วนร่วมเปิดหมู่บ้านรับการท่องเที่ยว ดังนั้นภาคีเครือข่ายในชุมชนอันประกอบด้วยผู้นำชุมชน  ท้องถิ่น วัด โรงเรียนและองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จึงมีความต้องการที่จะร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนโดยใช้ฐานทางประวัติศาสตร์  โบราณคดี วิถีวัฒนธรรมชุมชนและความงดงามของธรรมชาติ เป็นตัวเชื่อมร้อยคนในชุมชนและภาคีเครือข่าย ให้มาร่วมกันพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  การเรียนรู้อัตลักษณ์ความเป็นตัวตน คนนครชุมเพื่อท้องถิ่นสู่การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมโดยต้องให้ชุมชนที่เป็นภาคีมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอน          

โรงเรียนบ้านนาทุ่งใหญ่ ตระหนักดีว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด คุณธรรมของเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ นอกจากนี้ การศึกษายังเป็นกุญแจสำคัญที่จะนไปสู่การพัฒนาชุมที่ยั่งยืน ที่จะส่งผลในการประกอบอาชีพ การมีรายได้ เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน แลการพึ่งพาตนเอง อย่างไรก็ตามปัญหาความยากจนยังเป็นอุปสรรคที่ทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งขาดโอกาสทางการศึกษา ต้องออกจากโรงเรียนกลางคันหรือไม่ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ เสริมสร้างทักษะ มองหาความถนัด ที่จะพัฒนาเป็นอาชีพต่อไปในอนาคต จากเหตุผลดังกล่าว โรงเรียนได้ให้ความสำคัญกับนักเรียน จึงส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนโดยใช้ฐานทางประวัติศาสตร์  โบราณคดี วิถีวัฒนธรรมชุมชนและความงดงามของธรรมชาติเป็นตัวเชื่อมร้อยคนในชุมชนและภาคีเครือข่ายให้มาร่วมกัน โดยการพัฒนาการบริหารการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนด้วยหลัก 2H NETWORK 4Q ศูนย์เหรียญ MODEL เพื่อส่งเสริมชุมชนในการพัฒนา Soft Power ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของตำบลนครชุม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จากกิจกรรมดังกล่าวเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนของนักเรียน นับเป็นประสบการณ์ตรง เพื่อให้นักเรียนสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ สามารถถ่ายทอดประมวลผล เพื่อเสริมสร้าง การจัดองค์ความรู้แบบองค์รวมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในอนาคตชุมชนจะสามารถขยายผลการวิจัยไปพัฒนาเศรษฐกิจจากกิจกรรมท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ภายใต้การทำงานร่วมกัน ระหว่างชุมชน อบต. และภาคีเครือข่ายชุมชนนครชุม และจะพัฒนาเป็นชุมชนที่แข็งแกร่ง ยืนอยู่บนความคิดและความสามารถของตน อันจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน

โดยนวัตกรรมการบริหารและการจัดการสถานศึกษา  การบริหารการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนด้วยหลัก 2H NETWORK 4Q ศูนย์เหรียญ MODEL โรงเรียนบ้านนาทุ่งใหญ่ เพื่อส่งเสริมชุมชนในการพัฒนา Soft Power ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของตำบลนครชุม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลกมีจุดเด่นที่ครอบคลุมกระบวนการจัดการเรียนการสอนทั้งต่อผู้เรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและชุมชน ตลอดจนสามารถเป็นแบบอย่างในการพัฒนาสถานศึกษาได้ ดังนี้

ด้านผู้เรียน

- ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองด้านอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น อย่างเต็มศักยภาพ    

ได้รับรางวัลต่างๆ มากมายจากการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ทั้งการประกวดระดับเขตพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับชาติ เช่น เด็กหญิงมลฑิตา แก้วดวงดี ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 การประกวด ฑูตวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษา จาก อำเภอนครไทย ประจำปี พ.. 2566

ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 ในการเข้ารับคัดเลือกรางวัล Young Smart  ในกิจกรรม Young ทำดีของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมประจำปี 2567 เพื่อสนับสนุนเด็กและเยาวชนให้กล้าทำดี  แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีจิตสาธารณะและทำกิจกรรมอาสาในชุมชน รักษาต่อยอดอัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น กระตุ้นและสร้างคุ้มกันให้เกิดความภูมิใจในตนเอง มีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย  มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่า และประโยชน์ของการมีคุณธรรม จริยธรรม และมีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู ไปใช้ในการดำเนินชีวิต ตลอดจนสร้างเยาวชนแกนนำที่เข้าใจบริบทประเทศไทย สถาบันชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ เสริมสร้างให้คนไทย เป็นคนดี คนเก่ง คนกล้า สร้างโอกาสและส่งเสริมบทบาทในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ 

- ผู้เรียนมีจิตสำนึกและสามารถประยุกต์ใช้การดำเนินชีวิต ตลอดจนการต่อยอดในการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยโรงเรียนบ้านนาทุ่งใหญ่ ได้ส่งผลงานเข้าประกวดในหัวข้อ สปอตโทรทัศน์รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ได้รับรางวัลทองแดง ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งจัดทำโดย เด็กชายภูตะวัน แสงสุข  เด็กหญิงมลฑิตา  แก้วดวงดี  และ เด็กหญิงพลอยพิกุล  พรหมวรรณา

ด้านครู

- ครูเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ระหว่างครูผู้สอน ทให้ครูสามารถพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน และเพิ่มศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- ครูเกิดการพัฒนาตนเอง นไปสู่การนเสนอผลงานทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนจนได้รับรางวัลต่าง ๆ หลายรายการ และได้รับเชิญเป็นวิทยากรและคณะทงานของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3

- ครูผู้สอนได้รับรางวัล ครูผู้สอนดีเด่น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา 2566  

- ครูผู้สอนได้รับรางวัลรางวัลครูดีศรีนครไทย จากอำเภอนครไทย และ สมาคมครูและผู้บริหารอำเภอนครไทย ประจปี .. 2567 

  - ครูผู้สอนได้รับรางวัลทองแดง ผลงานเข้าประกวดในหัวข้อ สปอตโทรทัศน์รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ได้รับรางวัลทองแดง ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั่วประเทศ

           - ครูผู้สอนได้รับรางวัลได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ระดับเงิน แบบวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ที่อยู่อ้างอิง (URL) : https://publish.vichakan.net/show/480
จำนวนการเข้าชม : 92 ครั้ง