Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รายงานการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย นางเบญจวรรณ อยู่พะเนียด

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เด็กฉลาด รู้เศรษฐศาสตร์รอบตั  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80 / 80  (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ระหว่างก่อนและหลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม   และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ทีมีต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม

            กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มนักเรียนที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดม่วง   สำนักงานเขตบางแค  กรุงเทพมหานคร  ภาคเรียนที่ 2    ปีการศึกษา  2566   จำนวน  20   คน  ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง    เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน   หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เด็กฉลาด รู้เศรษฐศาสตร์รอบตั และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม  ดำเนินการทดลองโดยการทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   จากนั้นให้เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมเป็นรายบุคคล  และทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้หนังสือ ตลอดจนวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม  สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ สถิติ E1/E2   เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม  สถิติ  t-test  เพื่อการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และใช้ค่าเฉลี่ยในการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม

              ผลการศึกษาพบว่า

              1.  หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เด็กฉลาด รู้เศรษฐศาสตร์รอบตั สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ  95.38/86.50  สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้  80/80  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการศึกษา

              2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสูงกว่าก่อนการใช้หนังสืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการศึกษา

              3. ความพึงพอใจของนักเรียนของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก