Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ผู้วิจัย วรารัตน์ อินทรา

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 24 พฤษภาคม 2567

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.27-0.64 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.37-0.69 และค่าความเชื่อมั่น และ 4) แบบประเมินผลความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าดัชนีประสิทธิผล และทำการทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples)

            ผลการวิจัยพบว่า

                1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.62/82.41 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

                2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน โดยมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                3. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.7040 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.40

                4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด