Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม

ผู้วิจัย นางพรรณวิภา สมสะอาด

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 28 พฤษภาคม 2567

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ และแนวทางการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบ ขั้นตอนที่ การศึกษาผลการใช้รูปแบบ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบ 

         ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันในการบริหารงานวิชาการ มีระดับปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าความต้องการจำเป็นในภาพรวมทั้งหมด มีค่า PNI Modified = 0.85 (2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้ แก่ ส่วนที่ 1 หลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 เนื้อและและกระบวนการดำเนินงานตามรูปแบบ และส่วนที่ 4 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (3) ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามหลักสูตรมีค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนตามหลักสูตรของผู้เรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หลังใช้รูปแบบสูงขึ้น ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของผู้เรียนสูงกว่าระดับประเทศ  ค่าร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับดีขึ้นไปหลังใช้รูปแบบสูงขึ้น ผู้เรียนได้รับเกียรติบัตรหรือรางวัลด้านวิชาการเป็นผลงานเชิงประจักษ์ และ ครูผู้สอนมีความพึงพอต่อการใช้รูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด