Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย

ผู้วิจัย จักรกฤช สิทธิโสติ

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 31 พฤษภาคม 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคหลักคือ เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติ แผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างรูปแบบ การบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหว ของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบและคู่มือการใช้ รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหว ของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการ หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียน แม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย และ4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติ แผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทาง การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุ แผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบ รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหว ของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหาร จัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหว เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียน โรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการ หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียน แม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาแนวทางการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหว เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย พบว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ปัจจัยนำเข้า 4) กระบวนการบริหาร และ5) ผลผลิต ชื่อเรื่อง : รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย ผู้วิจัย : นายจักรกฤช สิทธิโสติ ปีการศึกษา : 2565-2566 2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหว เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุ แผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ ได้แก่ 1) หลักการมีส่วนร่วม 2) หลักประสิทธิผล 3) หลักการ กระจายอำนาจ และ4) หลักการประกันคุณภาพ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ คือ 1) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะหลักการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย และ2) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเอาชีวิตรอดจากแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียน แม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยนำเข้า คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ครูผู้สอน และ3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหาร คือ กระบวนการ บริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวด้วยวงจรคุณภาพ PDSA (Plan-Do-Study-Act) และ องค์ประกอบที่ 5 ผลผลิต คือ 1) สมรรถนะหลัก และ 2) สมรรถนะการเอาชีวิตรอดจากแผ่นดินไหว ขณะที่ผลการตรวจสอบร่างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหว เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย ในภาพรวม พบว่า มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย พบว่า 3.1 ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2565 พบว่า 1) สมรรถนะหลักที่มีร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไปเท่ากับหรือสูงกว่า ค่าเป้าหมาย จำนวน 4 ด้าน และต่ำกว่าค่าเป้าหมาย จำนวน 1 ด้าน 2) สมรรถนะการเอาชีวิตรอดจาก แผ่นดินไหว (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภัยพิบัติแผ่นดินไหวของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เฉลี่ยสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการนำเนื้อหารายวิชาภัยพิบัติ แผ่นดินไหวไปบูรณาการกับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสูงกว่า ค่าเป้าหมายที่กำหนด (3) สมรรถนะสมรรถนะการเอาชีวิตรอดจากแผ่นดินไหว ด้านทักษะ (Skills) ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป สูงกว่าค่าเป้าหมายทุกทักษะ (4) สมรรถนะสมรรถนะ การเอาชีวิตรอดจากแผ่นดินไหว ด้านคุณลักษณะ / เจตคติ (Attribute / Attitude) ที่มีร้อยละของ นักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไปเท่ากับหรือสูงกว่าค่าเป้าหมาย จำนวน 6 รายการ และต่ำกว่า ค่าเป้าหมาย จำนวน 3 รายการ 3) ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อของรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตร ภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาว วิทยาคม จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3.2 ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2566 พบว่า 1) สมรรถนะหลักที่มีร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไปสูงกว่าค่าเป้าหมาย ทุกด้าน 2) สมรรถนะการเอาชีวิตรอดจากแผ่นดินไหว (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภัยพิบัติ แผ่นดินไหวของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด (2) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนจากการนำเนื้อหารายวิชาภัยพิบัติแผ่นดินไหวไปบูรณาการกับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด (3) สมรรถนะสมรรถนะการเอา ชีวิตรอดจากแผ่นดินไหว ด้านทักษะ (Skills) มีร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป สูงกว่าค่าเป้าหมายทุกทักษะ (4) สมรรถนะสมรรถนะการเอาชีวิตรอดจากแผ่นดินไหว ด้านคุณลักษณะ / เจตคติ (Attribute / Attitude) มีร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป สูงกว่าค่าเป้าหมาย ทุกรายการ และ3) ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อของรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติ แผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นในด้านความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรภัยพิบัติ แผ่นดินไหวเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเผชิญเหตุแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด