Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย สุภาพร บุญครอง

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 10 มิถุนายน 2567

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                     การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เรื่อง  อากาศกับการ  ดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์  โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้ศึกษา           สุภาพร  บุญครอง

หน่วยงาน                  โรงเรียนบ้านด่าน

ปีการศึกษา                2566

บทคัดย่อ

 

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย  1)  เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เรื่อง  อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์  โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เรื่อง  อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์  โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3)  เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียน ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เรื่อง  อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์  โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน  ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เรื่อง  อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์  โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มเป้าหมายการศึกษา  เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1  ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา  2566 โรงเรียนบ้านด่าน  ตำบลด่าน  อำเภอกาบเชิง  จังหวัดสุรินทร์  จำนวน  22  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  1)  ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  จำนวน  ชุด  2)  แผนจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  จำนวน  11  แผน  3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน  30  ข้อ  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  ตัวเลือก  มีค่าความยากง่ายระหว่าง  0.36 – 0.77  ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง  0.21 – 0.74  และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.84  และ 4)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี    เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  ระดับ  จำนวน  15  ข้อ 

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่า E1/E2

และค่า E.I.  และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการหาค่า   แบบ  Dependent  Samples 

 

 

 

 

          ผลการวิจัยพบว่า

          1.  ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เรื่อง  อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์  โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ มีประสิทธิภาพ  เท่ากับ  86.07/84.55  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  คือ 80/80

          2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เรื่อง  อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์  โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05         

3.  ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เรื่อง  อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์  โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/เท่ากับ  0.7559  แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ  75.59

4.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เรื่อง  อากาศกับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์  โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด