Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น คิด ทำ นำเสนอ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง ทักษะการทำโครงงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย นันทิตา กลิ่นรอด

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 11 มิถุนายน 2567

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง           การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น คิด ทำ นำเสนอ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง

ทักษะการทำโครงงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้

คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้รายงาน                   นางนันทิตา  กลิ่นรอด

ตำแหน่ง             ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ

ปีการศึกษา         2566

สถานศึกษา         โรงเรียนเทศบาลวัดทรงธรรม สังกัดเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

 

บทคัดย่อ

                   

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงทักษะการทำโครงงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)ศึกษาผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง ทักษะการทำโครงงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ  (2.2)เปรียบเทียบกระบวนการคิดขั้นสูงของนักเรียนที่เรียนโดยใช้โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ กับเกณฑ์ร้อยละ 80 (2.3)เปรียบเทียบทักษะการทำโครงงานคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ กับเกณฑ์ร้อยละ 80 3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงทักษะการทำโครงงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ4)ประเมินหลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงทักษะการทำโครงงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 3/2  โรงเรียนเทศบาลวัดทรงธรรม สังกัดเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 6 ชนิด ได้แก่ 1)หลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ 2)แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPASS 5 Steps ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Based Learning: PBL) จำนวน  22  แผน 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.35 – 0.60 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.22 - 0.59  และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89  4)แบบประเมินโครงงานคณิตศาสตร์ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 5 ข้อ 5)แบบสังเกตพฤติกรรมการคิดขั้นสูง จำนวน 10 ข้อ และ6)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 3  ระดับ จำนวน  15  ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1/E2 และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t – test (Dependent samples) 

            ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

              1. หลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงทักษะการทำโครงงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบหลัก 18 หัวข้อ ได้แก่ 1)วิสัยทัศน์ของโรงเรียนเทศบาลวัดทรงธรรม 2)สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 3)คุณลักษณะอันพึงประสงค์  4)สาระและมาตรฐานการเรียนรู้แกนกลาง 5)ตารางวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้กับตัวชี้วัดชั้นปี 6)รหัสวิชาและรายชื่อวิชา 7)คำอธิบายรายวิชา 8)มาตรฐาน/ตัวชี้วัด 9)ความสำคัญหลักการของหลักสูตรจุดมุ่งหมาย 10)วัตถุประสงค์ 11)เนื้อหาของหลักสูตร 12)เวลาเรียน 13)แหล่งเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ 14)การวัดผลประเมินผลการเรียน 15)เครื่องมือการวัดผลและประเมินผล 16)เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล 17)ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 18)โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร และ19)อภิธานศัพท์

                2. หลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงทักษะการทำโครงงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีประสิทธิภาพ (E1/E2)  เท่ากับ  89.59/93.00 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

                    2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

                    2.2 กระบวนการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

                    2.3 ทักษะการทำโครงงานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

                3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงทักษะการทำโครงงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  (=2.74, S.D.=0.28

              4. หลักสูตรท้องถิ่นคิด ทำ นำเสนอ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงทักษะการทำโครงงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม  มีความถูกต้อง  มีความเป็นไปได้และมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้  โดยผลการประเมินจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (