ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ GDIPAT เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย สร้างสรรค์ “ระบำบูชาพระธาตุศรีสุราษฎร์” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางจันทิมา เที่ยงน่วม
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 13 มิถุนายน 2567
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
GDIPAT เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบูชาพระธาตุศรีสุราษฎร์”
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
GDIPAT เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์
“ระบำบูชาพระธาตุศรีสุราษฎร์” สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
GDIPAT เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์
“ระบำบูชาพระธาตุศรีสุราษฎร์” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
และ4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้
GDIPAT เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์
“ระบำบูชาพระธาตุศรีสุราษฎร์” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2/2
โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster
random sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ GDIPAT เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์
“ระบำบูชาพระธาตุศรีสุราษฎร์” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 13 แผน 21 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4
ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20)
0.84 แบบวัดทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ มีค่าความเชื่อมั่น
0.83 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนมีค่าความเชื่อมั่น () 0.93 แบบแผนการวิจัยเป็นแบบ
One-Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมติฐานกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน (t-test
Dependent Samples) สถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยหนึ่งกลุ่มกับเกณฑ์ (One-Sample
T- test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
สภาพการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ในแต่ละโรงเรียนไม่แตกต่างกัน
เป้าหมายของหลักสูตรต้องการให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญและใส่ใจในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ถูกต้อง
เรียนรู้สู่การนำไปใช้ในชีวิตจริง ส่วนใหญ่การสอนให้เน้นทักษะปฏิบัติ
เน้นให้นักเรียนกล้าแสดงออก ตามความเข้าใจ
โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะให้คำปรึกษา ฝึกให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ หรือใช้วิธีสอนแบบสาธิตและฝึกปฏิบัติแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยแต่โบราณ
เน้นการฝึกทักษะให้เกิดความชำนาญด้วยบทเรียนที่ซ้ำ
ๆ จนกระทั่งนักเรียนสามารถจดจำท่าทางปฏิบัติซึ่งเป็นหลักใหญ่ได้
ปัญหาการเรียนวิชานาฏศิลป์
ส่วนใหญ่มาจากความสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน บุคลิกภาพของครูนาฏศิลป์โดยครูต้องมีความสามารถ ความชำนาญในการรำ นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนนาฏศิลป์
เกิดความเครียดเบื่อหน่ายในการเรียน ไม่สนใจที่จะศึกษา ด้อยค่าไม่ให้ความสำคัญ
ขาดความตระหนัก ไม่เห็นคุณค่าในการเรียนวิชานาฏศิลป์
คิดว่าเป็นวิชาที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ทันสมัย เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนาฏศิลป์ต่ำไม่สามารถแก้ปัญหา เชิงสร้างสรรค์ได้ ครูผู้สอนขาดสื่อนวัตกรรมที่สร้างใหม่เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ
ในท่ารำ ที่ถูกต้อง
การใช้สื่อในการเรียนรู้ไม่หลากหลายและไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ธรรมชาติของวิชาและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
การวัดและประเมินผล การแจ้งวิธีการวัดและประเมินผล
รวมทั้งเกณฑ์การให้คะแนนแก่นักเรียนไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจน ขาดการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่แปลกใหม่ขึ้นมาใช้และนักเรียนไม่สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
รูปแบบการจัดการเรียนรู้
GDIPAT เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์
“ระบำบูชาพระธาตุศรีสุราษฎร์” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2)
วัตถุประสงค์ (3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
ขั้นที่ 1 เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention : G) ขั้นที่ 2 การสาธิต (Demonstration
: D) ขั้นที่ 3 การทำตามแบบ (Imitate : I) ขั้นที่ 4 การฝึกทักษะและแสดงผลงาน (Performance : P) ขั้นที่ 5 การนำไปใช้ (Apply : A) ขั้นที่ 6 การทดสอบและประเมินผลการเรียนรู้
(Test and Evaluation : T) (4) ระบบสังคม และ (5) การวัดและประเมินผล
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ GDIPAT เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบูชาพระธาตุศรีสุราษฎร์”
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.67/82.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้
GDIPAT เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบูชาพระธาตุศรีสุราษฎร์”
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01
ทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้
GDIPAT เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบูชาพระธาตุศรีสุราษฎร์”
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้
GDIPAT เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์
“ระบำบูชาพระธาตุศรีสุราษฎร์” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.52 S.D=0.37)