ชื่อเรื่อง ห้องเรียนออนไลน์ (TBT E-Classroom) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เหตุผลเชิงตรรกะกับการแก้ปัญหา เรื่อง การแก้ปัญหาด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ สำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5
ผู้วิจัย สุวรรณา ยิ่งกล้า
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 13 มิถุนายน 2567
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การสร้างและพัฒนาสื่อนวัตกรรม ห้องเรียนออนไลน์ (TBT E-Classroom)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(เทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ) รายวิชา วิทยาการคำนวณ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เหตุผลเชิงตรรกะกับการแก้ปัญหา เรื่อง
การแก้ปัญหาด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ สำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5 เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้งานเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียน
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลสอบเก็บคะแนนตามตัวชี้วัด
ครั้งที่ 1
และผลสอบเก็บคะแนนตามตัวชี้วัด ครั้งที่ 2
ของนักเรียนที่เรียนผ่าน ห้องเรียนออนไลน์ (TBT E-Classroom) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนผ่าน
ห้องเรียนออนไลน์ (TBT E-Classroom) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนเทศบาลท่าตูม สังกัดกองการศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม เทศบาลตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ห้องเรียนออนไลน์ (TBT E-Classroom) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลสอบเก็บคะแนนตามตัวชี้วัด
ครั้งที่ 1 และผลสอบเก็บคะแนนตามตัวชี้วัด ครั้งที่ 2 จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบปรนัย แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนผ่าน
ห้องเรียนออนไลน์ (TBT E-Classroom) สถิติที่ใช้วิเคราะห์
ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E/Eและการวิเคราะห์เปรียบเทียบ t – test
ผลการศึกษา พบว่า
1.
ชุดสื่อนวัตกรรม ห้องเรียนออนไลน์ (TBT E-Classroom)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(เทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ) รายวิชา วิทยาการคำนวณ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เหตุผลเชิงตรรกะกับการแก้ปัญหา เรื่อง
การแก้ปัญหาด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ สำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5
ที่ผ่านการทดลองหาประสิทธิภาพ
ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบระหว่างเรียนมีค่าเท่ากับ 93.44
และร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ผู้เรียนทำแบบทดสอบเก็บคะแนนตามตัวชี้วัด ครั้งที่ 2
มีค่าเท่ากับ 91.25 ดังนั้นประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอน (E1 / E2)
คือ 93.44/91.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผลการทดสอบเก็บคะแนนตามตัวชี้วัด
ครั้งที่ 2 โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ (TBT E-Classroom) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(เทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ) รายวิชา วิทยาการคำนวณ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เหตุผลเชิงตรรกะกับการแก้ปัญหา เรื่อง
การแก้ปัญหาด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ สำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5 สูงกว่าผลการทดสอบเก็บคะแนนตามตัวชี้วัด
ครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5
ที่มีต่อชุดการพัฒนาสื่อนวัตกรรม ห้องเรียนออนไลน์ (TBT E-Classroom) หน่วยการเรียนรู้ที่
1 เหตุผลเชิงตรรกะกับการแก้ปัญหา เรื่อง การแก้ปัญหาด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ
สำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยอันดับหนึ่ง ได้แก่
กิจกรรมในแบบฝึกมีความหลากหลาย ไม่น่าเบื่อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 อันดับสอง ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมมีความเหมาะสม
มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 4.80
และอันดับสาม ได้แก่
การทำกิจกรรมจากแบบฝึกทักษะช่วยเพิ่มความเข้าใจมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 ตามลำดับ