ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบวัดระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายเจนรบ โกรธา
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 22 มิถุนายน 2567
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณที่ไม่เน้นการเขียนโปรแกรม
แต่ได้นำสถานการณ์ต่าง ๆ ที่นักเรียน มีโอกาสพบเจอมาใช้เป็นข้อคำถาม
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณ
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อสร้างเกณฑ์สำหรับประเมินผลระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนาแบบวัดระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณ
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวน 20 ข้อ
ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1
ด้านการแยกย่อยปัญหา จำนวน 5 ข้อ องค์ประกอบที่ 2
ด้านการพิจารณารูปแบบ จำนวน 5 ข้อ องค์ประกอบที่ 3
ด้านการคิดเชิงนามธรรม จำนวน 5 ข้อ และ องค์ประกอบที่ 4
ด้านการออกแบบขั้นตอนวิธี จำนวน 5 ข้อ ผลการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ConQuest2 พบว่า ข้อสอบมีค่าความยากระดับปานกลางค่อนไปทางง่าย
เหมาะสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถระดับกลาง ค่า MNSQ อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้
มีค่าความยาก (Estimate) อยู่ในช่วง (-1,+1) จำนวน 20 ข้อ รวมทั้ง MNSQ (-0.789 ถึง 0.882)
อยู่ในช่วง CI ที่ยอมรับได้ทั้งหมดจำนวน 20
ข้อ การตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค พบว่า
มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .974
2. การกำหนดเกณฑ์สำหรับประเมินผล
ได้แบ่งช่วงคะแนนการประมาณค่าเป็น 3 ช่วง คือ 1) ช่วง -0.789 ถึง -0.231
ให้ค่าน้ำหนักคะแนน 1 คะแนน มีจำนวน 6 ข้อ 2) ช่วง -0.232 ถึง 0.324 ให้ค่าน้ำหนักคะแนน
2 คะแนน มีจำนวน 8 ข้อ และ 3) ช่วง 0.325 ถึง 0.882 ให้ค่าน้ำหนักคะแนน 3 คะแนน มีจำนวน
6 ข้อ และมีคะแนนรวมทั้งหมด 40 คะแนน ซึ่งแบ่งเป็นระดับทักษะการแก้ปัญหาแบบเป็นลำดับและใช้เหตุผลอย่างมีตรรกะมีทักษะการคิด
การวิเคราะห์ การแก้ปัญหาที่เป็นระบบ และต่อยอดกระบวนการคิดเชิงคำนวณสู่การ Coding
ได้ 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับต่ำ ได้คะแนน 13 คะแนนลงมา 2)
ระดับปานกลาง ได้คะแนน 14 – 26 คะแนน และ 3) ระดับสูง ได้คะแนน 27 คะแนนขึ้นไป