Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การสร้างสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง ตัวหนังสือเดี่ยว เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย กัญจน์ วิเศษลา

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 8 กรกฎาคม 2567

บทคัดย่อ

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่งยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน โดย 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์หลักที่สําคัญ คือ ข้อที่ 3 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน และมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จ่าเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการเกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง และสาระสําคัญในประเด็นที่ 3 ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้และมีใจใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา โดย (1) การปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาทักษะส่าหรับศตวรรษที่ 21 (2) การเปลี่ยนโฉมบทบาท “ครู” ให้เป็นครูยุคใหม่ (3) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับ ทุกประเภท (4) การพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต (5) การสร้างความตื่นตัวให้คนไทยตระหนักถึงบทบาท ความรับผิดชอบ และการวางตำแหน่งของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และประชาคมโลก (6) การวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม และ (7) การสร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2562)

กระทรวงศึกษาธิการ มุ่งมั่นดําเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) จึงได้กําหนดนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการขึ้น นโยบายที่ 2 การยกระดับคุณภาพการศึกษา

ข้อ 2.2 จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ค้นพบพรสรรค์ ความสนใจ ความถนัดในอาชีพของตนเองด้วยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) ทั้งในห้องเรียน รวมทั้งการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มและห้องดิจิทัล

ข้อ 2.6 การจัดการเรียนรู้ตามความสนใจรายบุคคลของผู้เรียน  ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มที่หลากหลาย และแพลตฟอร์มการเรียนรู้อัจฉริยะ ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้สื่อการสอนคุณภาพสูง รวมทั้งมีการประเมินและพัฒนาผู้เรียน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2564)

ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจําวันเนื่องจากเป็นเครื่องมือสําคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นํามาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีการคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศ และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้ง่ายและกว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการดําเนินชีวิต

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพ และศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้นรวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)

และเนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน เรื่อง ตัวหนังสือเดี่ยว ที่ผ่านมานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ต่ำ ผู้จัดทํา ได้ตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาของผู้เรียนให้ข้อนี้ และมีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน รวมถึงยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนให้เพิ่มสูงขึ้น จึงได้ดําเนินการการสร้างสื่อการเรียนรู้ วิชาภาษาจีน เรื่อง ตัวหนังสือเดี่ยว เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้น โดยได้ดําเนินการออกแบบสื่อการเรียนรู้ตามรูปแบบแอดดี (ADDIE Model) เพื่อให้ได้สื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมสําหรับการจัดการเรียนรู้ทําให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการเรียนรู้และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาจีน และพร้อมที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ของตัวเองให้ดีมากยิ่งขึ้นต่อไป