Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับหลักการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย ศิริมาศ จันทรมาศ

ปีการศึกษา 2565

วันที่เผยแพร่ 8 กรกฎาคม 2567

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/6 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2565โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราชจำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียน40 คนที่ได้โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1.    ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

2. การพัฒนารูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้นใช้ชื่อเรียกว่า “SNJAC Model”                      มีองค์ประกอบของรูปแบบการสอนโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นจุดประกายความคิดสะกิดความรู้เดิม (S : Spark ideas) 2) ขั้นเพิ่มเติมความรู้ใหม่(N : New knowledge)

3) ขั้นใส่ใจร่วมปฏิบัติ(J : Join in action) 4) ขั้นพัฒนานำไปใช้ (A : Application) และ 5) ขั้นได้ผลสรุป(C : Conclusion)ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คนด้านคณิตศาสตร์ ผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องการให้พัฒนารูปแบบการสอนโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการพัฒนารูปแบบการสอนโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ69.57/70.00 ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ78.07/79.26และค่าประสิทธิภาพ E1 / E2จากการทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 81.84/82.78ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้หลักการเรียนรู้

แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/6 กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40คนได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.54/86.67และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลการทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้แบบทดสอบ

วัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบและใช้เกณฑ์ประเมินความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ผลปรากฏว่านักเรียน มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบในภาพรวม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  8.38อยู่ในระดับคุณภาพ  ดีมาก

5. ผลการประเมินรูปแบบการสอนโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้หลักการเรียนรู้

แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการ

แก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4อยู่ในระดับมาก