Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย กชกร ยอดยิ่ง

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 15 กรกฎาคม 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการสอนวรรณคดีไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) สร้างรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนพระตำหนักมหาราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ใน      การวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 6 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบฯ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแบบของลิเคอร์ท ซึ่งประกอบด้วยคำถามที่มีลักษณะการตอบแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยมีดังนี้

        1.  การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการสอนวรรณคดีไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ครูผู้สอนเน้นการสอนเนื้อหาและคำศัพท์มากกว่าการพัฒนาการคิดวิเคราะห์

        2.  การสร้างรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อว่า SP2SP Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นจุดประกาย (Sparkling: S) 2) ขั้นสหายคู่คิด (Pairing: P) 3) ขั้นสะกิดค้นคว้า (Searching: S) 4) ขั้นนำพาแบ่งปัน (Sharing: S) 5) ขั้นสร้างสรรค์นำเสนอ (Presenting: S)

        3.  การทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าก่อนการทดลองมีคะแนนความสามารถการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 19.29 คิดเป็นร้อยละ 63.75 หลังการทดลองมีคะแนนความสามารถการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 25.14 คิดเป็นร้อยละ 83.33

        4.  การประเมินรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า

            4.1  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ มีคะแนนความสามารถการคิดวิเคราะห์หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

               4.2   ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก อันดับแรก รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ทำให้นักเรียนพิจารณา แยกแยะเรื่องราว/สถานการณ์ต่าง ๆ ของวรรณคดีได้ชัดเจน และมีเหตุผลเพิ่มขึ้น รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ นักเรียนสามารถฝึกทักษะการปฏิบัติการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ และกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดช่วยให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว ตามลำดับ