Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง คู่มือ การใช้กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนกะปงพิทยาคม

ผู้วิจัย นางสาวจันทนา แก้วมุกดา

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 19 กรกฎาคม 2567

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและความสาคัญ
เป้าหมายหลักของการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย คือการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพด้วยกระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจาก การจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545) การที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องอาศัยครูผู้สอนที่มีทักษะในการจัดการเรียนรู้มีเจตคติต่อวิชาชีพครูที่ดีมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงโดยเฉพาะในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะแห่งอนาคตใหม่ที่ครูควรมีทักษะและคุณลักษณะที่รองรับเข้าถึงเพื่อสร้างนวัตกรรมบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ในอันที่จะพัฒนาผู้เรียน ที่เป็นเยาวชนในยุคใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สอดคล้องหลักการจัดการศึกษาตามมาตรา 22 ที่ว่า การจัด การศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
จากการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลกที่ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโลกที่มีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ทาให้มนุษย์จาเป็นต้องปรับตัวเพื่อการดารงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ การศึกษาซึ่งเป็นเครื่องมือสาคัญในการพัฒนาประชากรของประเทศ จึงจาเป็นต้องพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนตามหลักสูตรนั้น ผู้ที่มีบทบาทสาคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัด และประเมินผลผู้เรียน คือ ครู เพราะครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสาคัญในการจัดกระบวน การเรียนรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ เสริมสร้างผู้เรียนให้เป็นบุคคลใฝ่เรียน ฝึกให้มีความสามารถในการคิดและการปฏิบัติงานที่สูงกว่าพื้นฐานธรรมดา เรียนรู้โลกใหม่แต่ไม่ลืมธรรมชาติและท้องถิ่นของตนเอง ครูจึงควรมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังนี้ คือ 1) สอนและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ 2) ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและตามสมรรถนะ 3)จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน เรียนจากประสบการณ์จริง คิดเป็นทาเป็น 4) ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และบุคลิกภาพที่ดี 5) จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม 6) เรียนรู้ไปพร้อมผู้เรียน 7) ประเมินผู้เรียนจากพัฒนาการและพฤติกรรม (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2557 : 22-28)
ความสาคัญของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) จากผลการวิจัยโดยตรงที่ยืนยันว่าการดาเนินการในรูปแบบ PLC นาไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพทั้งด้านวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
2
จากการสังเคราะห์รายงานการวิจัยเกี่ยวกับโรงเรียนที่มีการจัดตั้ง PLC โดยใช้คาถามว่า โรงเรียนดังกล่าวมีผลลัพธ์อะไรบ้าง ที่แตกต่างไปจากโรงเรียนทั่วไปที่ไม่มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และถ้าแตกต่างแล้วจะมีผลดีต่อครูผู้สอนและต่อนักเรียนอย่างไรบ้าง