Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ

ผู้วิจัย นางสาวรักษ์สุดา ภาวะบุตร

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 20 กรกฎาคม 2567

บทคัดย่อ

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice ) ผลงานนวัดกรรมของครูผู้สอบ
ชื่อผลงาน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ
ของเดอโบโน เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้นำเสนอผลงาน นางสาวรักษ์สุดา ภาวะบุตร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียน อุบลวิทยาคม
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
การคิดที่สามารถพัฒนาและส่งเสริมได้ในเด็กเล็กคือ การรู้จักการแก้ปัญหา ซึ่งจะต้องเริ่มกันตั้งแต่แรก
การคิดของเด็กเล็กต้องอาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ และการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก ผู้ปกครอง
และครูจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะทำให้เด็กเรียนรู้ในการแก้ปัญหา สิ่งแรกต้องเข้าใจถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคล ความสำคัญของพัฒนาการเด็ก ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็ก หากได้
เข้าใจในความเป็นมาของการคิดของเด็กแล้ว ก็สามารถที่จะส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาได้ตั้งแต่แรก เด็กก็จะมี
ทักษะในการแก้ปัญหาจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กพบกับปัญหาก็สามารถที่จะเผชิญต่อปัญหาต่างๆ อย่าง
ไม่กลัว กลักที่จะผชิญกับสิ่งที่เป็นปัญหา และดำเนินการไปสู่การแก้ปัญหาได้ในที่สุด
ผู้นำเสนอผลงาน เห็นว่ามีวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เด็กปฐมวัยเกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์
และคิดรอบด้านมากยิ่งขึ้นคือ การสอนตามแนวคิดหมวก 6 ใบ ของเดอโบโน ซึ่งเป็นเทคนิคที่ไช้พัฒนาการคิด
ของบุคคลทั่วไปให้สามารถคิดอย่างรอบด้าน ครอบคลุมประเด็นที่ควรนำมาคิดพิจารณา อันจะช่วยให้ได้
ความคิดที่รอบคอบขึ้น โดยใช้หมวกเป็นตัวแทนของการคิดหรือการแสดงความคิดและสีของหมวกแสดงแง่มุม
ของความคิด เทคนิคนี้ช่วยให้บุคคลได้ฝึกการคิดในหลายแง่มุม ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาร
อภิปรายกลุ่ม หรือการคิดร่วมกันเป็นกลุ่ม จะช่วยให้กลุ่มได้แง่มุมในการคิดที่หลากหลายขึ้น และช่วยให้ผล
ของการคิดที่ได้มีความรอบคอบขึ้น (ทิศนา แขมมณี, 2551 : 47) ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ที่ให้เด็กปฐมวัยได้
คิด ได้อธิบายความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยการเรียบเรียงเป็นถ้อยคำของตนเองได้นำความรู้ไปใช้ใช้ใน
การปฏิบัติและแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ (สำนักงกงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2552 : 20)
การคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบทางสติปัญญาอันเป็นกระบวนการ
ทำงานของสมองที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์เป็นพื้นฐานสำคัญ การเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกและ
ใช้ความคิดอย่างเสรีร่วมกับกลุ่มเพื่อนและครู เป็นวิธีการที่สำคัญที่ตอบสนองต่อความต้องการและธธธรรมชาติ
ของเด็ก โดยเฉพาะการมีปฏิสัมพันธ์และการใช้ภาษาในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดกับกลุ่ม
เพื่อน ดังนั้นการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยนั้น ครูควรให้
ความสำคัญและคำนึงถึงธรรมชาติของเด็กทั้งในด้านด้านพัฒนาการเรียนรู้ และความแตกต่างระหว่างบุคคลโดย
จัดกิจกรรมที่หลากหลายให้เด็กพัฒนาทักษะพื้นฐานทุกด้านโดยผ่านรูปแบบกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือกระทำและ
ปฏิบัติจริงด้วยตนเองดังที่ ดิวอี้ (Dewey) เพียเจท์ (Piaget) และบรูเนอร์ (Bruner) เห็นสอดล้องกันว่า
กระบวนการพัฒนาทางสติปัญญานั้น ควรให้เด็กได้เรียนรู้โดยการกระทำ (Learning by Doing) และมี ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการเรียนรู้ดังกล่าว นำไปสู่การจัดการเรียนรู้
เชิงรุก (Active Learning) เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ด้วย
ตนเอง ผ่านกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่มี
ความหมาย เกิดการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ภายใต้สภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ในห้องเรียน
และนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
สร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียนร้ ร่วมกันอย่างกระตือรือร้น และสนกสนานและมีความสุข ผ่านสื่ออปกรณ์ที่
หลากหลาย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ จนเกิดเป็นทักษะกระบวนการเรียนรู้
มีพัฒนาการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
ให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน
จากบทความข้างต้นที่กล่าวมาจึงได้ตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญของการจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริม
ด้านการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย จึงมีความสนใจที่จะนำเทศนิคการคิดหมวก 6 ใบ ของเดอโบโบโน มาใช้เป็น
แนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของ
เด็กปฐมวัย ให้มีคุณภาพตามคณลักษณะที่พึ่งประสงค์และสอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย และเป็น
พื้นฐานของการเรียนรู้ในระดับต่อไป
จุดประสงค์
1. เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) โดยใช้เทคนิคคิดหมวก 6
ใบของเดอโบโน เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของเด็กปวัย
2. เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการ การคิดแก้ปัญหาก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเชิงรุก
(Active Learning) โดยใช้เทคนิคคิดหมวก 6 ใบของเดอโบโน
3. เพื่อสอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา ชุมชนและภาคีเครือข่าย
ผลการดำเนินงานและประโยชน์ที่ได้รับ
ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
1. เด็กปฐมวัยเกิดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
2. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเชิงรุก(ActiveLearning) โดยใช้เทคนิคคิดหมวก 6 ใบของ
เดอโบโน เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยใช้ใต้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ที่ได้รับ
ประโยชน์ต่อบุคคล
1. เด็กปฐมวัยได้รับการกระตุ้นให้คิดจากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดและแก้ปัญหา
เพื่อนำไปใช้ในแก้ปัญหาได้ในระดับต่อไป
2. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนระดับปฐมวัย และผู้สนใจได้นำเทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ ของเดอโบโน
ไปพัฒนา ประยุกต์ใช้ และปรับปรงแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ในระดับปฐมวัยหรือระดับชั้นชั้นอื่น ๆ ต่อไป ประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายโดยผ่านกระบวนการ PLC
1. นวัตกรรมนี้ส่งผลให้ครูได้นำรูปแบบการสอนที่ผสมผสานการเรียนรู้ผ่านเทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ
มาปรับใช้กับการจัดการเรียนรู้
2. เป็นประโยชน์ต่อชุมชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากชุมชนต้องการให้ผู้เรียนรู้จักการคิดแก้ปัญหาใน
ชีวิตประจำวันได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข