Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยบอร์ดเกมร่วมกับสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เรื่องวันสำคัญทางพุทธศาสนา สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและ วัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้วิจัย สุทิพย์ ศิริเรือง

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 20 กรกฎาคม 2567

บทคัดย่อ

ชื่อผลงาน          การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยบอร์ดเกมร่วมกับสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล
                      เรื่องวันสำคัญทางพุทธศาสนา สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและ
                      วัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้เสนอผลงาน    
นางสุทิพย์  ศิริรือง

ตำแหน่ง            ครู

หน่วยงาน                    โรงเรียนบ้านหนองกรด

สังกัด               สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑

ประเภทผลงาน

        ผู้สร้างสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล

R        ผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล

        ผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อ OBEC Content Center ระดับสำนักงานเขตพื้นที่
                       การศึกษา

๑. ความเป็นมาและความสำคัญ

            กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรี มีงานทำ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งมีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายให้ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ ทันสมัย และ การบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการเรียนรู้ของ ผู้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ที่นักเรียน ครูและ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและประชาชน สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ได้ทุกอย่างเท่าเทียมทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
         
ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ซึ่งเป็น แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เป็นชุดโปรแกรมรวบรวมเนื้อหาใน 8 ประเภทเนื้อหา ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แอปพลิเคชัน วิดิทัศน์ เสียง ภาพ ข้อสอบ เทมแพลต และมัลติมีเดีย โดยนักเรียน ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป สามารถเข้าถึงการใช้งานเนื้อหาต่าง ๆ โดยใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคล (Personal Computer) และเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Mobile Devices) สำหรับการเรียนรู้ได้ ทุกที่ ทุกเวลา กับอุปกรณ์ที่หลากหลาย