Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning สร้างความเป็นเลิศโดยใช้เทคโนโลยี

ผู้วิจัย นางสาวสุกัญญา พรมอารักษ์

ปีการศึกษา 2565

วันที่เผยแพร่ 23 กรกฎาคม 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น การแข็งขันทางด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น สังคมโลกมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดมากขึ้นเป็นสภาพไร้พรมแดน การพัฒนาเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและจะกระทบกับความเป็นอยู่ในสังคม ประเทศไทยจึงต้องเร่งพัฒนาปัจจัยยุทธศาสตร์ทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทุนมนุษย์จากการยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคมและระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559 หน้า 2) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้สรุปว่าระบบการศึกษาไทย มีผลการพัฒนายังไม่เป็นที่น่าพอใจเนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคะแนน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากและต่ำกว่าหลายประเทศในแถบเอเชีย จึงมีความจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ ใหม่ โดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐๒๕๗๙ ที่กำหนดให้คนไทย ทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ การเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ ๒๑ การบริหารการศึกษาต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่เป็นพลวัต เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาทุกระดับให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในเวทีโลก (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560) การยกระดับคุณภาการศึกษาและมาตรฐานของการศึกษานับว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นนักเรียนทุกคนจึงควรได้รับ การศึกษาที่มีคุณภาพเป็นเลิศ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาระบบการศึกษาไปสู่ระบบการศึกษาที่มี ศักยภาพสูง (High preforming Education System) ประเด็นสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา คือ การที่มีโรงเรียนดีมีคุณภาพ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2557 หน้า 53

การศึกษาไทยได้มีความพยายามในการส่งเสริมสถานศึกษาให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศมาโดยตลอด โดยการส่งเสริมคุณภาพจัดทำระบบบริหารจัดการคุณภาพในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบที่สามารถพัฒนาสถานศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศได้ การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเข้าสู่ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วที่คนไทยจะพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การที่จะเข้าสู่สังคมเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มตัวได้นั้น ต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควร ซึ่งอาจจะแบ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจของ คนในสังคมที่มีต่อเทคโนโลยีดิจิทัลการแบ่งช่วงของเทคโนโลยี 4 ช่วง ยุคดิจิทัล 1.0 2.0 3.0 และ 4.0