Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ และความสำคัญทางเศรษฐกิจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้

ผู้วิจัย นางสาววัลยา แซ่จิว

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 25 กรกฎาคม 2567

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์และความสำคัญทางเศรษฐกิจก่อนเรียนและหลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา      ปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivist) 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์และความสำคัญทางเศรษฐกิจ    ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivist) 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivist) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/๔ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบางลี่วิทยา อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน   3๑ คน

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)  แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐศาสตร์และความสำคัญทางเศรษฐกิจ  ซึ่งจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivist) 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐศาสตร์และความสำคัญทางเศรษฐกิจ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐศาสตร์และความสำคัญทางเศรษฐกิจ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivist) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์และความสำคัญทางเศรษฐกิจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivist) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์และความสำคัญทางเศรษฐกิจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivist) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivist) โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด